Welcome to Lifestyle Zone!

นวดนานาชาติ (1)

การนวด ถือเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่งจากความเหนื่อยล้าต่างๆ ในชีวิตประจำวัน บางคนอาจต้องการนวดเพื่อคลายความปวดเมื่อย หรือบางคนอาจนวดเพื่อผ่อนคลายความเครียด

นวดแบบชีวจิต

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตเป็นผู้ค้นคิดวิธีการนวด โดยปรับประยุกต์มาจากการนวดแผนไทยการนวดกดจุดฝังเข็มตามองค์ความรู้แพทย์แผนจีน การใช้พลังดัน – ต้านแบบไอโซเมตริก เพื่อให้การนวดตัวเองการนวดเพื่อนหรือคนที่เรารักได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่

การนวดแบบชีวจิตแบ่งเป็นสองประเภทด้วยกันคือ

  1. นวดกดจุดและกระตุ้นต่อม

เป็นการกระตุ้นและรีดให้ท็อกซินกระจายออกจากร่างกาย และขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นให้จุด

ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิต การหลั่งฮอร์โมนของต่อมต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้นเมื่อกดจุด

นี้ คลึงและดึงจุด – ต่อมต่างๆ ควรใช้สมาธิและการหายใจอย่างถูกต้องร่วมด้วย จะทำให้รู้สึกมีแรง

กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที

  1. นวดคู่เพื่อการผ่อนคลาย

โดยปกติ เรามักนวดหลังจากออก-กำลังกาย ซึ่งเมื่อออกแรงและออกกำลังกายเต็มที่ เราจะเหนื่อย

เหงื่อออกหัวใจเต้นแรง ชีพจรเต้นเร็ว คงจะมีอาการเจ็บ ปวด ตึง และเมื่อยเป็นธรรมดา เราจึงตบ

ท้ายด้วยการนวดและการผ่อนคลายให้ร่างกายสบาย หายเจ็บหายปวด?หายเมื่อยได้ และสามารถไปออกแรง ออกกำลังกายวันต่อไปได้อย่างกระฉับกระเฉงและมีชีวิตชีวา

การนวด

นวดเพื่อนวดตัวเองนวดแผนไทย โรงพยาบาลสมุทรสาคร

โรงพยาบาลสมุทรสาครเป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์ทางเลือกหรือแพทย์แผนไทยไว้ให้บริการสำหรับผู้ป่วยด้วย

คุณขนิษฐา ปานรักษา พยาบาลวิชาชีพ 7 หัวหน้างานแพทย์แผนไทยกล่าวว่า “แพทย์แผนไทยของที่นี่จะประยุกต์ให้เข้ากับหลักกายภาพบำบัดและสรีรวิทยา”

หลังจากที่คุณหมอแผนปัจจุบันส่งตัวคนไข้หรือคนไข้สมัครใจจะมาที่นี่เองแผนกงานแพทย์แผนไทยจะเริ่มการรักษาด้วยการตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย เช่น มีอาการปวดหลัง ก็จะต้องเช็คดูว่าแขนขาขยับได้แค่ไหนไหล่ติดไหม

ต่อมาจึงเข้าสู่กระบวนการรักษาซึ่งมักจะเป็นการนวดรักษาตามจุดที่มีอาการ พร้อมกับแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปปรับใช้เองได้ ด้วยท่าออกกำลังกายหรือท่าดัดตน

หากต้องใช้สมุนไพรร่วมรักษาโรค?ก็จะเป็นไปตามหลักเภสัชวิทยา อาจจะเป็นสมุนไพรชนิดเดียว หรือในกรณีที่ต้องทำลูกประคบ ก็จะใช้สมุนไพรหลายชนิด เพราะสมุนไพรแต่ละอย่างแก้โรคได้ไม่เหมือนกัน บางอย่างต้องการให้ตัวยาซึมเข้าผิว บางอย่างเพื่อให้เกิดน้ำมันหอมระเหย

คุณขนิษฐาย้ำว่า เจ้าหน้าที่นวดทุกคนที่นี่ได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงสาธารณสุขทั้งสิ้น

จำแนกอาการเพื่อความเข้าใจ
  • ปวด คือ อาการเจ็บปวด อยู่เฉยๆ ก็เจ็บ และจะเจ็บอยู่เป็นจุดๆ เจ็บจุดๆ อย่างนี้แปลว่าตรงจุดนั้นมีอาการผิดปกติ
  • เมื่อย จะไม่เป็นจุดๆ แต่มันจะรู้สึกตึง ไม่ปลอดโปร่ง และรู้สึกตื้อไปหมดถ้าให้อธิบาย คนแก่ๆ จะบอกว่ามันตึง มันตื้อไปหมดทั้งตัว
  • ขบ คือ อาการเจ็บเวลาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการเจ็บตามข้อต่างๆ เช่นบริเวณแขน ขา ข้อศอก เข่า นิ้วมือ นิ้วเท้า เวลาเคลื่อนไหวจะมีเสียงลั่นและเจ็บปวดหรือเมื่อย
  • เมื่อยขบ จะเจ็บทั้งบริเวณข้อต่อและบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น เมื่อยคอ บ่าเจ็บไหล่ เป็นต้น ความหมายก็คือ ข้อต่ออาจจะอักเสบและจะปวดมาก โดยเฉพาะเมื่อกล้ามเนื้อที่ปกคลุมข้อต่อนั้นอักเสบไปด้วย
  • คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

    การนวด

    นวดน้ำมันลังกาสุกะ

    คุณมะนาเซ เจะแน หัวหน้างานการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลจะแนะ จังหวัดนราธิวาส กล่าวถึงที่มาของการนวดน้ำมันลังกาสุกะว่า

    “การนวดน้ำมันลังกาสุกะเกิดขึ้นจากการรวบรวมองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ากับการนวดแผนไทยราชสำนัก

    “ในอดีต การนวดในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้จะมีแค่เฉพาะการนวดผู้หญิงหลังคลอดโดยโต๊ะบีแด (หมอตำแย) และนวดแก้ปวดเมื่อยสำหรับผู้ชายเท่านั้น เมื่อเป็นการนวดผสมผสานหลายศาสตร์ การนวดน้ำมันลังกาสะกุจึงมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร”

    คุณมะนาเซยังบอกว่า ความพิเศษของการนวดน้ำมันลังกาสุกะอีกอย่างหนึ่งก็คือ น้ำมันที่ใช้นวด

    “สูตรการทำน้ำมันลังกาสุกะนั้นได้มาจากการคัดเลือกสมุนไพรที่ดีที่สุดของโต๊ะบีแด 15 คน นำมาต้มกับน้ำมันงาหรือน้ำมันถั่วเหลือง และผสมกับน้ำมันฮาบาตุสเซาดะห์หรือน้ำมันยี่หร่าดำ ที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าสามารถรักษาโรคได้ทุกชนิดการนวดด้วยการใช้น้ำมันจะมีข้อดีตรงที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและผิวหนังชุ่มชื้น

    “การจะทำให้น้ำมันซึมเข้าผิวหนังได้ดีต้องทำควบคู่กับการประคบร้อนด้วยก้อนหิน เพื่อกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด ผ่อนคลายเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อพังผืดต่างๆ”

    คุณมะนาเซบอกว่า การนวดน้ำมันลังกาสุกะนั้นไม่มีข้อห้ามใดๆ สามารถนวดได้ทุกเพศทุกวัย แต่เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น การนวดน้ำมันลังกาสุกะจะเหมาะกับคนในกลุ่มต่อไปนี้ค่ะ

    “ผู้ที่มีปัญหาปวดหัวเข่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุและหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีปัญหาเข่าเสื่อม หมอนวดจะใช้น้ำมันนวดบริเวณหัวเข่าและประคบร้อนด้วยก้อนหิน เพื่อให้กล้ามเนื้อซึมซับตัวยาได้ดียิ่งขึ้น”

    เคล็ดลับการนวดคลายเครียดแบบลังกาสุกะ

    1. นั่งขัดสมาธิ ชโลมน้ำมันที่นิ้วมือข้างขวา ยกเว้นนิ้วโป้ง

    2. ใช้นิ้วชี้ กลาง นาง และก้อย กดรีดไปที่ต้นคอด้านซ้ายลงมาที่บ่า

    3. กดรีดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอไหล่ และบ่า จนรู้สึกผ่อนคลายและหายตึงเครียด

    4. นำผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นมาประคบบริเวณที่นวดเพื่อให้รู้สึกสบายยิ่งขึ้น

    5. สลับไปนวดด้านขวา โดยทำเช่นเดียวกันกับข้างซ้าย

     “ทุยหนา” มหัศจรรย์นวดแผนจีน

    “ทุยหนา” ถือเป็นหนึ่งในศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณที่สืบทอดกันมานานนับพันๆ ปี

    แพทย์หญิงอัมพร กรอบทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจ-นาภิเษก และหัวหน้าแพทย์แผนจีน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าที่มาของทุยหนาว่า

    “ทุยหนามีหลักฐานปรากฏอยู่ในบันทึก ‘หวงตี้นุ่ยจิง’ ซึ่งเป็นคัมภีร์การแพทย์แผนจีนเล่มแรกๆ ในสมัยราชวงศ์ชิงและฮั่น หรือราว 2,000 ปีก่อน ระบุว่ามีการใช้วิธีบริหารพลังภายในหรือชี่กงกับนวดทุยหนาเพื่อบำบัดรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาตอันเกิดจากความผิดปกติของเลือดลม

    “หลังจากนั้นการนวดทุยหนาก็ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ปัจจุบันมีการใช้การนวดทุยหนาเพื่อป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้นเหมือนศาสตร์การแพทย์แผนจีนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือการทำงานของอวัยวะผิดปกติ เช่น โรคลำไส้แปรปรวนโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น”

    แพทย์จีนจ๊ะมะ ไกรศรีสถาพรแพทย์จีนแห่งศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายลักษณะเด่นของการนวดแผนจีนทุยหนาว่า

    “การรักษาโรคด้วยการนวดทุยหนามีจุดเด่นที่แตกต่างจากการนวดชนิดอื่นๆคือ ผู้ให้การรักษาต้องมีทั้งความรู้และความแม่นยำในเรื่องของจุดต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งพลังชี่กงที่จะถ่ายทอดเพื่อผลักดันให้ลมปราณหมุนเวียนนั่นเองซึ่งสาเหตุนี้ทำให้แพทย์จีนที่ใช้นวดทุยหนาในการรักษาไม่สามารถล้างมือในระหว่างการนวดได้ เพราะจะทำให้สูญเสียพลังและความร้อนจากฝ่ามือไป

    “สำหรับวิธีการนวด ไม่เพียงแต่การใช้มืออย่างเดียว ยังอาจใช้เท้าและข้อศอกได้ด้วย หรือใช้เครื่องมือนวดโดยเฉพาะบางอย่าง เช่น น้ำมันตุงชิงน้ำมันงา ผงหินลื่น?หรือสารหล่อลื่นอื่นๆ ทั้งนี้อาจใช้สมุนไพรจีนและการครอบกระปุกร่วมด้วย”

    ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 261