Welcome to Lifestyle Zone!

4 ไลฟ์สไตล์ ป้องกันมดลูกป่วย

4 วิธีดูแลมดลูก ให้สุขภาพดี

การใช้ชีวิตสัมพันธ์กับทุกโรค ไม่เว้นแม้แต่สุขภาพมดลูก ดังนั้น วิธีดูแลมดลูก จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการใช้ชีวิตประจําวันผิดๆ อาจส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงตกอยู่ที่ท้องส่วนล่าง ทําให้ข้อต่อเชิงกรานกระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ ทําให้มดลูกของเราป่วยได้ในที่สุด อยากให้มดลูกแข็งแรงควรปรับพฤติกรรมตามนี้ค่ะ

วิธีดูแลมดลูก

  1. ไม่นั่งๆ นอนๆ

    การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ และขาดการออกกําลังกายทําให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงมดลูกและอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดให้ขาของเราเป็นเส้นเลือดเดียวกับที่ส่งเลือดไปที่มดลูก รังไข่ และช่องคลอดของเรา ดังนั้น ถ้าเรานั่งนานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งทํางานกับโต๊ะ การนั่งไขว่ห้าง การอยู่ในท่ายืนหรือท่านั่งเป็นเวลานาน ไม่ยืดแข้งยืดขาเสียบ้าง จะทําให้เลือดคั่งบริเวณอุ้งเชิงกราน เลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก รังไข่ และช่องคลอดจะไหลได้ไม่เต็มที่

  2. ให้ความอบอุ่น

    หากท้องน้อยมีเลือดคั่งหรือมีความเย็นสะสม จะทําให้เกิดซีสต์ในมดลูกหรือมดลูกอักเสบได้ง่าย จึงต้องขับเลือดที่คั่งและสลายความเย็นที่สะสมอยู่รอบๆ สะดือ รังไข่ และมดลูกออกไป แนะนําให้ประคบท้องน้อยด้วยถั่วแดงอุ่นๆ ทั้งนี้เพราะถั่วแดงจะช่วยบรรเทาอาการเลือดคั่ง ลดบวม บรรเทาอาการอักเสบ

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

วิธีทําถุงถั่วแดงอุ่น

  • เตรียมถั่วแดง 500 กรัม นําไปใส่ในถุงผ้า
  • มัดปากถุงด้วยเชือก
  • อบในเตาไมโครเวฟ ใช้ความร้อนระดับปานกลางราว 3-4 นาที
  • นอกจากนี้อาจใช้กระเป๋าน้ําร้อนประคบบริเวณท้องน้อย เพื่อให้ความอบอุ่นมดลูกทุก 3 วัน
  • และควรสวมเสื้อผ้าที่ทําให้ท่อนล่างของร่างกายอบอุ่น
  • วิธีดูแลมดลูก

    1. พักผ่อนให้เพียงพอ

      อย่าปล่อยให้ร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป การพักผ่อนจะช่วยให้สมองและรังไข่ได้รับการบํารุงและฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายสมบูรณ์พร้อม จะทําให้ฮอร์โมนทํางานเป็นปกติ

    2. ไม่สวมเสื้อผ้ารัด

      ข้อนี้สาวๆ อาจคิดไม่ถึงว่าการสวมเสื้อผ้าที่รัดหน้าท้องทําให้ท้องน้อยซึ่งเป็นที่อยู่ของมดลูกถูกบีบรัด ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบายๆ แทน จะเห็นได้ว่ามดลูกมีส่วนกําหนดสุขภาพผู้หญิงอย่างมาก ในทางกลับกันเราก็มีส่วนกําหนดสุขภาพของมดลูกด้วยเช่นกัน

    การดูแลเอาใจใส่สุขภาพกาย-ใจอย่างสมดุล คือคําตอบที่ดีที่สุดสําหรับการมีสุขภาพมดลูกที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพโดยรวมของเราดีตามไปด้วย

    ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 338

    เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

    ตัดมดลูก VS ตัดรังไข่ ตัดอันไหนแย่กว่า
    “ปวดประจำเดือน” เพราะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
    สาวใหญ่ต่อสู้กับความกลัวเหตุเกิดจากเนื้องอกในมดลูก
    6 สูตร ปรับประจำเดือนให้มาตรงเวลาเป๊ะ!
    ปวดท้อง ตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
    7 พฤติกรรม ปรับฮอร์โมน แก้อาการ ประจำเดือนไม่ปกติ
    ท้องเสียก่อนมีประจำเดือน ทำอย่างไร