Welcome to Lifestyle Zone!

3 เคส อุบัติเหตุทางการแพทย์ โรค หมอทำ

ความผิดพลาดจากการรักษา เกิดได้จาก 2 ส่วน คือ ความผิดพลาดของแพทย์ และความผิดพลาดของผู้ป่วย

1.ความผิดพลาดของแพทย์ แบ่งเป็นสาเหตุหลักๆ ได้ 2 เรื่อง

1.1 การวินิจัยโรคผิด มีสาเหตุ คือ หนึ่ง แพทย์ได้ประวัติไม่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแพทย์ไม่มีเวลาในการซักหรือสอบถามประวัติโดยละเอียดรอบคอบ สอง เกิดจากแพทย์ไม่ได้ตรวจร่างกายอย่างละเอียดรออุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรคบคอบ หรือไม่ได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างเหมาะสม สาม เกิดจากโรคยังคลุมเครือ เช่น คนเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่ไส้ติ่งของคนไข้ไปแอบซ่อนอยู่หลังลำไส้ใหญ่ ทำให้ตรวจบริเวณหน้าท้องแล้วอาจจะคลุมเครือ ทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้

1.2 ด้านการรักษาที่ผิดพลาด อาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่น หนึ่ง แพทย์ขาดความรู้ความชำนาญในโรคที่รักษา เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์มีการพัฒนาไปมาก จนเป็นไปไม่ได้ที่แพทย์คนใดคนหนึ่งจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญทุกแขนง ก็ย่อมทำให้เกิดความผิดพลาดในการรักษาได้ สอง การวินิจฉัยล่าช้า แม้อยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญ สาม อาจเกิดจากระบบของโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งที่อาจบ่ายเบี่ยงการรักษาในกรณีผู้ป่วยประกันสังคมหรือผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งโรงพยาบาลได้เงินแบบเหมาจ่ายไปแล้ว จึงพยายามคุมค่าใช้จ่ายในการรักษา สี่ ความผิดพลาดที่เป็นเหตุสุดวิสัย ทั้งด้านของเทคโนโลยี เครื่องมือ

2. ด้านของคนไข้ การบอกประวัติการรักษาไม่ครบ ด้วยความไม่รอบคอบ ไม่รู้ และความอาย ทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดพลาด

จากนี้จึงเป็น 3 ประสบการณ์ที่เกิดจากความผิดพลาดส่วนเเรก คือ “ความผิดพลาดของแพทย์” ที่คุณไม่ควรพลาดติดตาม
กับตอนแรก “แพ้ยาเพราะการจ่ายยาผิดพลาด จนทำให้ตาบอด”
หน้าถัดไป ค่ะ

แพ้ยา…จนตาบอด

“ก่อนหน้านี้ป้าเคยแพ้ยาซัลฟา ฉีดแล้วผิวมันพองขึ้นมาเลย แต่หมอช่วยไว้ทัน หมอให้ยาให้น้ำเกลือ มาครั้งนี้หมอบอกป้าว่าคออักเสบต้องฉีดยา ป้อุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรคาเลยกำชับหมอว่า ‘คุณหมออย่าลืมนะว่าหนูแพ้ยาซัลฟา’ แล้วหมอก็เขียนใบสั่งยา ให้ภรรยาซึ่งเป็นพยาบาลเป็นคนฉีด ป้าเห็นเขาผสมตัวยา 3 ตัวนะ ก็ไม่รู้ว่าอะไร พอฉีดเสร็จขาชาจนเดินไม่ได้ เขาก็ให้ป้าไปนอนพักครึ่งชั่วโมงก็พอเดินได้ ป้าก็กลับไปทำงานต่อ”

คุณป้าดอกรัก เพชรประเสริฐ เป็นพนักงานทำความสะอาดของห้างแห่งหนึ่ง เธอเล่าต่อว่า ขณะทำงานก็มีอาการใจสั่น อ่อนเพลียแต่ก็คิดว่าเป็นเพราะพิษไข้จึงอดทนกินยาแก้ปวดต่อไป จนรุ่งเช้าตื่นมา พบว่ากระพุ้งแก้มในปากยุ่ยออก เนื้ออ่อนที่ต้นแขนพองเหมือนโดนเตารีดนาบ ส่วนที่ตาก็มีน้ำสีเหลืองไหลซึมออกมา เมื่อพบคุณหมอจึงบอกอาการ ประวัติการรักษาว่าตนเพิ่งไปฉีดยามาเมื่อวาน สงสัยว่าจะแพ้ยา แต่หมอวินิจฉัยว่าไม่ใช่การแพ้ยาเป็นเพียงแค่พิษไข้ ส่วนตาเป็นแค่การอักเสบ เมื่อกลับถึงบ้านคุณป้าดอกรักกลับพบว่าอาการของตนเองทรุดหนักลงปวดแสบปวดร้อนไปทั้งตัว และอาเจียนเป็นเลือด สุดท้ายเมื่อกลับไปถึงโรงพยาบาลอีกครั้ง หมอรับตัวไว้แต่ยังไม่ทำการรักษาเพราะต้องการรอหมอจากคลินิกซึ่งเป็นผู้ฉีดยาให้มาตรวจรักษา จนอาการคุณป้าดอกรักทรุดหนักจนต้องนำเข้าห้องไอซียู

9 ปีแล้วที่พิษร้ายจากการฉีดยาผิดทำให้กระจกตาของคุณป้าดอกรักทะลุ ท่อน้ำตาตัน ท่อน้ำลายตัน ปอดแฟบไปข้างหนึ่ง ลำไส้บวม คุณป้าดอกรักต้องทรมานอยู่ในโลกมืดอย่างอ่อนแรงกับลูกสาววัย 11 ปี ซึ่งทำหน้าที่ลูกอย่างแข็งขันทั้งจูงแม่ตาบอดขึ้นรถเมลย์ไปหาหมอ ทั้งตั้งใจเล่าเรียนเพื่อให้แม่ชื่นใจ โดยทั้งคู่ไม่มีใครจุนเจือรายได้เลย มีเพียงเงินก้อนเล็กๆที่ได้จากการชนะคดีซึ่งเทียบไม่ได้กับชีวิตและอนาคตที่เหลืออยู่ของคนทั้งคู่เลยeye

ป้าดอกรักฝากถึงหมอและผู้อ่าน

“ป้าไม่เคยคิดฟ้องร้องหมอเลยนะ อยากได้คำขอโทษจากหมอแค่นั้น ตอนป้าไปหาหมอก็ฝากความหวังไว้กับหมอ เพราะเราไม่ใช่คนเรียนหนังสือมาเยอะ แต่หมอเรียนมา หมอเอาหลักการมารักษาคนไข้ แต่หมอก็ต้องฟังคนไข้ด้วยนะ ถ้าไม่ฟังคนไข้มันจะเกิดความผิดพลาดได้มาก “สำหรับตัวป้าก็ได้คิดว่า หนึ่ง เราไม่ควรนิ่งนอนใจ อย่าห่วงงานมากกว่าสุขภาพ กรณีป้าถ้ารีบรักษาทันที ไม่ปล่อยข้ามคืนข้ามวันนะ ป้าจะไม่เป็นอย่างนี้เลย สอง ถ้าเราแพ้ยาต้องแจ้งหมอพยาบาลทุกครั้งนะ ถ้าเขาจะฉีดยาต้องถามย้ำให้แน่ใจเสียก่อนว่าไม่ใช่ตัวยาที่เราแพ้”

ติดตามเรื่องราว ของอีก 2 เคส ต่อกันได้ที่ หน้าถัดไป

วินิจฉัยไม่รอบคอบทำอัมพาต

โรคเอสแอลอีเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตของ คุณจุ๊ – ศิริรัตน์ จั่นเพชร ต้องเปลี่ยนไป คุณหมอให้เธอรับประทานยาอุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรคกดภูมิ และให้ดูแลตัวเองดีๆ เพราะจะกลายเป็นคนที่ติดเชื้อได้ง่าย ที่สำคัญห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด คุณศิริรัตน์ปฏิบัตตัวตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด แม้ว่าวันหนึ่งเธอจะปวดหลังมากแต่ก็ไม่อยากไปหาหมอคนอื่นเพราะกังวลเรื่องการกินยาผิด

“จุ๊บอกหมอว่าปวดหลังมาก อยากให้ช่วยเอกซเรย์ให้ แต่หมอบอกว่าแค่ปวดหลังธรรมดาไม่ต้องเอกซเรย์หรอก สุดท้ายหมอให้ยาแก้ปวดแล้วให้จุ๊กลับบ้านโดยไม่ได้เอกซเรย์ ซึ่งพอกลับมาบ้านอาการปวดหลังก็ยังไม่หายและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จุ๊ก็ทนกินยาไปเรื่อยๆ จนวันที่สองจุ๊ปวดมากจนชักหมดสติไปเลย พ่อแม่เลยนำส่งโรงพยาบาล พอถึงโรงพยาบาลหมอจึงเอกซเรย์ให้ ปรากฎว่าเกิดการอักเสบเป็นหนองติดเชื้อที่ไขสันหลัง หมอให้ผ่าตัดด่วน”

เมื่อออกจากห้องผ่าตัดคุณจุ๊ตื่นมาพบว่าตัวเองมีอาการชาตั้งแต่ราวนมลงไปถึงขา และไม่มีแรงจะขยับตัว ซึ่งเมื่อสอบถามแพทย์เวรที่เข้ามาตรวจอาการก็บอกว่า เป็นฤทธิ์ของยาบล็อกหลัง ให้ทำกายภาพบำบัดเดี๋ยวอาการจะกลับมาเป็นปกติดังเดิม จนเวลาผ่านไปนานนับเดือน อาการชาก็ยังไม่หาย และเมื่อเธอต้องการพบหมอที่ทำการผ่าตัดว่าเพื่อสอบถามข้อมูลการรักษาก็ถูกปฏิเสธ

อุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรค  คุณจุ๊รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเกือบ 3 เดือน แต่ไม่ได้รับคำอธิบายใดๆเกี่ยวกับอาการอัมพาตท่อนล่างของเธอเลย คำอธิบายมีเพียงให้ทำกายภาพแล้วจะกลับมาเป็นปกติ จนบัดนี้เวลาผ่านมา 4 ปี เธอต้องอยู่กับความพิการโดยเพิ่งได้ทราบว่า การรักษาที่ผิดพลาดของหมอเริ่มต้นตั้งแต่ ครั้งที่หมอไม่ได้ตรวจดูผลเลือดของเธออย่างละเอียดว่า ปริมาณเม็ดเลือดขาวในเลือดของเธอสูงมากผิดปกติซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่ง แต่หมอก็ละเลยไม่ได้ใส่ใจ หากหมอทำการเอกซเรย์ก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้เชื้ออักเสบลุกลามเกินแก้ไข

ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่เพิ่งแต่งงานได้สองเดือนแต่ต้องกลายเป็นอัมพาตและในที่สุดชีวิตครอบครัวของเธอก็ต้องอับปางลง คุณจุ๊ต้องอยู่กับพ่อและแม่ซึ่งเป็นที่พึงทั้งทางใจและทางกาย

คุณศิริรัตน์ฝากถึงผู้อ่าน

“เพราะจุ๊เชื่อคุณหมอว่า ถ้ากินยาแก้ปวดแล้วอาการจะดีขึ้น แต่แท้จริงแล้วอาการปวดนั้นไม่ลดลงเลย แต่จุ๊ก็ยังเชื่อไม่ยอมเชื่อความรู้สึกตัวเอง สิ่งที่เราได้คือ หนึ่ง เราควรสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองให้ดีๆ “สอง ถ้าจะมีการผ่าตัดคนไข้ควรคุยกับหมอถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นอย่างละเอียด ถ้าคนไข้ไม่มีสติควรมีญาติที่รู้เรื่อง สาม เราต้องกล้าที่จะถามหมอ ถ้าหมอไม่ตอบก็เป็นอีกเรื่องแต่เราควรกล้าที่จะถามเพราะเป็นเรื่องสุขภาพของเราโดยตรง”

ยังมีให้ติดตามกันอีก 1 เคส สำหรับ โรคหมอทำ ติดตามอ่านเรื่องราวได้ที่อีกหน้าเลยค่ะ

ทำคลอดผิดลูกสมองพิการ

น้องเจ้าของ –เด็กหญิง ณ.พรสรวง ประคุณวงศ์ ลูกสาววัยสองขวบเศษของคุณนฤพนธ์ ประคุณวงศ์และ คุณเศรษฐศิลป์ ศิรินรเศรษฐ์

“มีคนแนะนำว่าฝากครรภ์ระบบ 30 บาทก็ได้ และประหยัดค่าใช้จ่าย เก็บเงินค่าคลอดแพงๆไว้เลี้ยงลูกตอนคลอดออกมาแล้วดีกว่า เราก็เชื่อโดยเราไปฝากครรภ์ที่คลินิกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิประจำครอบครัว แต่เวลาคลอดต้องไปคลอดที่โรงพยาบาลเอกชนที่ระบุไว้ในบัตรทอง และเราก็เข้าใจว่า คลินิกที่ตรวจและโรงพยาบาลต้องมีการส่งข้อมูลคนอุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรคไข้ถึงกันอยู่แล้ว”

ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ไปตรวจตามหมอนัดทุกครั้งจนเลยกำหนดคลอดไปเกือบ 11 เดือน คุณหมอผู้ตรวจจึงจะออกใบส่งตัวเพื่อให้ไปโรงพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรทองเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยต่อว่าควรจะผ่าคลอดหรือไม่ ปรากฎว่าระหว่างรอวันจันทร์เพื่อจะขอใบส่งตัวจากคลินิกดังกล่าวไปโรงพยาบาล คุณเศรษฐศิลป์ก็มีอาการผิดปกติคือมีลิ่มเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดจึงรีบไปโรงพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรทอง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธและบอกว่าต้องนำใบส่งตัวมาด้วย

“สุดท้ายเราบอกเขาว่าจะจ่ายเองแต่ขอให้รับตัวไว้ก่อน เราไปถึงโรงพยาบาลตอนประมาณตีสี่ มอบสมุดฝากครรภ์ให้พยาบาลไว้ทุกอย่างแต่เขาไม่ได้ดูรายละเอียดในนั้นเลย เขาเพียงแค่ให้น้ำเกลือและเหมือนผสมน้ำยาเหลืองๆลงไป พอฉีดเข้าตัวเราสักพักก็เริ่มมีอาการปวดท้อง และพยาบาลพาเราไปที่ห้องทำคลอด ซึ่งระหว่างนั้นก็ให้เราเบ่งแต่เราเบ่งไม่ออก และได้ยินพยาบาลบอกว่าเด็กเริ่มมีการขับถ่ายแล้ว ให้เซ็ตห้องผ่าตัดด่วน”

“จนกระทั่งอยู่ในห้องผ่าตัดก็ผ่าตัดไม่ได้เพราะไม่มีหมอดมยา ต้องรอหมออีก รอจนถึง เจ็ดโมงเช้า จนเราทนไม่ไหวและสลบไป เมื่อรู้สึกตัวอีกที ก็จับหน้าท้องตัวเองก็นึกว่า หมอคงผ่าตัดทำคลอดแต่ปรากฎว่าไม่ใช่ หมอทำคลอดเราทางช่องคลอด แต่ด้วยความจำเป็นเพราะเด็กเคลื่อนตัวออกมาแล้วจึงไม่สามารถผ่าตัดคลอดได้”ความเครียด,เครียด,โรค,นอนไม่หลับ,หายเครียด,แก้เครียดอุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรค

“ปัญหาที่พบคือหมอไม่สามารถทำคลอดเด็กได้เพราะเด็กตัวใหญ่มากและแม่ก็ตัวเล็กแถมอายุมากแล้วจึงต้องใช้เครื่องช่วยดึง จึงทำให้ลูกติดอยู่ในช่องคลอดและขาดอากาศหายใจไปหลายนาที และการดึงก็ทำให้เส้นประสาทที่ไหลขาด ลูกกลายเป็นเด็กสมองพิการ แขนลีบ”

“และเราทราบมาทีหลังคือระบบ 30 บาทสามารถให้พยาบาลวิชาชีพทำคลอดได้ โดยไม่ต้องส่งต่อหมอ ซึ่งในเคสอย่างนี้เป็นเคสเสี่ยงพยาบาลไม่ควรจะทำ และเราก็เข้าใจได้ว่าเป็นระบบจัดการของโรงพยาบาลซึ่งจะโทษเจ้าหน้าที่เล็กๆไม่ได้ ทุกคนทำตามนโยบายซึ่งน่าจะเห็นใจคนไข้บ้าง”

คุณเศรษฐศิลป์ฝากถึงผู้อ่าน

“สิ่งที่เราคิดได้จากเหตุการณ์นี้คือ หนึ่ง ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วโรงพยาบาลมีเครื่องไม้เครื่องมือหรือบุคลากรไม่พร้อม เราสามารถร้องขอให้ย้ายไปทำคลอดที่อื่นได้ เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะทำได้ สอง เราต้องศึกษาข้อมูลของระบบสวัสดิการที่เลือกใช้ให้ละเอียดว่ามีขั้นตอนอย่างไร”

ไปดูวิธีการป้องการ โรคหมอทำ กันได้ในหน้าถัดไปค่ะ

ป้องกันอุบัติเหตุทางการแพทย์อย่างไรดี

  1. เมื่อพบแพทย์ควรบอกประวัติอาการต่างๆให้ชัดเจนไม่ปิดบัง ไม่ต้องอายแม้โดยทั่วไปจะเป็นเรื่องที่น่าอับอาย ต้องเชื่อถือในระบบจรรยาบรรณของแพทย์ ที่แพทย์จะต้องรักษาความลับผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด และต้องดูแลผู้ป่วยด้วยเจตนาดี เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
  2. ให้ความร่วมมือในการตรวจของแพทย์ บอกอาการอย่างตรงไปตรงมา เช่นแพทย์กดท้องแล้วถามว่าเจ็บไหม ถ้าเจ็บก็บอกเจ็บ บอกให้หมดว่าเจ็บน้อยเจ็บมาก เจ็บเสียว หรือเจ็บระบม เป็นต้น
  3. ถ้าได้รับการรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อน ต้องปรึกษาคนรอบตัวอุบัติเหตุทางการแพทย์,โรคหมอทำ,อุบัติเหตุ,accident,โรคหรือาจรีบกลับไปหาแพทย์ ที่ดูแลรักษา เพื่อไม่ให้โรคลุกลามไปมาก หรือกรณีกินยา ฉีดยาแล้วมีอาการคันเหมือนเป็นลมพิษ ต้องรีบปรึกษาคนรอบข้างหรือแพทย์ทันทีเพราะอาจจะแพ้ยา ต้องรีบหยุดยา ถ้ากินยาแล้วมีอาการทางเยื่อบุ เช่น พุพองในปาก อาจแพ้ยารุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เรื่องแพ้ยานี้ ถ้ามีการแพ้แล้ว ต้องพยายามให้แพทย์วินิจฉัยให้ได้ว่าแพ้ยาอะไร แล้วจดชื่อยาที่แพทย์วินิจฉัยไว้กับบัตรประจำตัวโรงพยาบาลของเรา เมื่อไปพบแพทย์หรือไปซื้อยากินเอง ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง อย่าเข้าใจว่าแพทย์หรือเภสัชกรจะรู้ว่าเราแพ้ยาอะไร แม้แพทย์จะบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วุย แต่บางทีแพทย์ก็ไม่ได้ดู
  4. ถ้าไม่มั่นใจในการวินิจฉัยหรือการรักษาของแพทย์ อาจขอคำปรึกษาจากแพทย์อีกคนหนึ่ง เพื่อขอความเห็นที่สอง (second opinion) ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่แพทยสภาและองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพได้ประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วยข้อนี้แล้ว

ข้อมูลเรื่อง “3 เคส อุบัติเหตุทางการแพทย์ โรคหมอทำ” จากนิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ …