Welcome to Lifestyle Zone!

13 โรคร้ายจาก ความเครียด

โรคเครียด

นายแพทย์โรเบิร์ต เอ็ม ซาโปลสกี นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดให้ความหมายว่า โรคเครียด คือสิ่งที่เข้ามาขัดขวางระบบการควบคุมตัวเองตามธรรมชาติของร่างกาย ร่างกายจะปรับความดันเลือด อุณหภูมิ อัตราความเครียดทางอารมณ์ กระตุ้นให้เกิดการระเบิดพลังทางร่างกาย ซึ่งเหมาะจะใช้ในสงครามการสู้รบหรือการหนีมากกว่าจะใช้จักการกับความขัดแย้งในความสัมพันธ์

ส่วนสาเหตุของความเครียดนั้นมีมากมาย เช่น อะไรก็ตามที่กระตุ้นความรู้สึกรุนแรงไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเจ็บปวด (ความโกรธ ความเศร้า หรือความกลัว) หรือพึงพอใจ (ความยินดี หรือความตื่นเต้น) ก่อให้เกิดปฏิกิริยาความเครียดได้ทั้งสิ้น ตัววัดง่ายๆ คือ การเปลี่ยนแปลง เมื่อสถานการณ์หรือกิจวัตรเปลี่ยนไปไม่ว่าในทางดีหรือทางเลว ซึ่งทำให้เราต้องพยายามปรับตัว การพยายามปรับตัวและการคาดเดาอะไรไม่ได้นี่เองที่รวมตัวเป็นความเครียดเช่นกัน

ความเครียด

เครียด จนฮอร์โมนพลุ่งพล่าน

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูแห่งองค์ความรู้ชีวจิตอธิบายผลจากความเครียดไว้ว่า “ก่อนอื่นคงต้องเข้าใจกันเสียก่อนว่าเรื่องของความเครียดไม่ใช่เรื่องของจิตใจหรืออารมณ์ดังที่เข้าใจกันดังแต่ก่อน หากแต่เป็นเรื่องของจิตใจและร่างกายร่วมกันอย่างแยกไม่ออก

“นายแพทย์ฮันส์ เซลเยอ แพทย์ชาวออกเตรียผู้ศึกษาเรื่องฮอร์โมนกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด ฮอร์โมนกว่า 30 ชนิดจะเกิดการปั่นป่วน ฮอร์โมนบางตัวจะหายไปหรือหยุดทำงาน และฮอร์โมนบางตัวอาจจะทำงานหนักมากเกินไป การสับสนและปั่นป่วนของฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางกาย เริ่มตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อยไปจนถึงป่วยหนักได้”

เครียดมากก่อโรคมหาศาล

“ความเครียดอย่างต่อเนื่องส่งผลร้ายต่อร่างกาย การวิจัยร่างกายทุกส่วนแสดงให้เห็นวิธีที่ฮอร์โมนความเครียดทำลายระบบหลอดเลือด หัวใจ ระบบการย่อยอาหาร และระบบอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากระบบภูมิคุ้มกัน มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับสูงอย่างต่อเนื่องอาจทำลายสมอง ทำให้ความจำเสื่อม เกิดความวิตกกังวล และไม่สามารถควบคุมการระเบิดของอารมณ์ได้ ฮอร์โมนความเครียดยังส่งผลโดยตรงกับอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก และม้าม ต่อมไทมัส”

นายแพทย์สมภพ เรืองตระกูล อธิบายต่อจากนั้นว่า ความเครียดอาจทำให้เป็นโรคต่างๆหรือมีอาการโรคกำเริบดังนี้ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1. โรคทางกาย และ 2. โรคทางจิตเวช

โรคเครียด

โดยโรคทางกายมีตัวอย่างโรคดังนี้

4. โรคหอบหืด – ความวิตกกังวลจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการหอบหืดทรุดหนักไปอีก เนื่องจากผู้ป่วยมีประสบการณ์หายใจไม่ออกรุนแรงซ้ำๆ เมื่อเกิดความเครียดวิตกกังวลว่าจะหายใจไม่ออกจึงเป็นการกระตุ้นอาการโรคขึ้นมาอีก

5. ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ – ความเครียดฉับพลันมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ก่อนแล้วมีโอกาสหัวใจวายสูงขึ้น

6. ข้ออักเสบรูมาทอยด์ – พบว่าบุคลิกภาพของผู้ป่วยโรคนี้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับความเครียดอยู่มากทีเดียว เช่น การเก็บกด ชอบความสมบูรณ์แบบ ชอบความโดดเดี่ยว ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ชอบความเจ็บปวดและมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดมีแนวโน้มกระตุ้นให้เกิดโรค

ความเครียด

7. โรคแผลในกระเพาะอาหาร – ปัจจัยทางจิตใจมีผลทำให้สารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารออกมามาก นอกจากนี้วิถีชีวิตที่เครียดจะทำให้เกิดความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิดความอ่อนแอต่อการได้รับเชื้อ H. pyroli ซึ่งเป็นเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้

8.โรคผิวหนัง – โรคผิวหนังบางชนิดพบว่ามีความผิดปกติของระบบประสาทด้วย ดังนั้นหากเกิดความเครียดยิ่งจะทำให้อาการโรคผิวหนังกำเริบขึ้นอีก เช่น อาการลมพิษที่อาจเกิดขึ้นตามหลังการเกิดความเครียดฉับพลัน

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

9. ภูมิแพ้ – ความเครียดจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันโดยผ่านฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ในขณะเดียวกันความเครียดยังไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ แต่มีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันพร่องไป และอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

10. มะเร็ง – มีการศึกษาหนึ่งพบว่า หนูที่มีสารก่อมะเร็งเมื่อถูกกดดันให้เครียด จะมีอัตราการลุกลามของมะเร็งเร็วกว่าหนูที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เครียด จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญในการลุกลามของโรค นอกจากนี้นักวิจัยชาวอเมริกาจากศูนย์มะเร็งพิตเบิร์กพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับกำลังจากครอบครัว เซลล์มะเร็งจะมีปัญหามากขึ้นกว่าผู้ป่วยในโรคเดียวกัน

เครียด

11. ไมเกรน – ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป การขาดซีโรโทนินจะทำให้หลอดเลือดเกิดพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

12. อาการปวดกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ – ความเครียดเรื้อรังจะส่งผลให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดการตึงตัว และทำให้มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมไปถึงกระตุ้นวงจรการนอนหลับให้ผิดปกติ

13. อาการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ – ความเครียดส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง มีการปวดประจำเดือน และมีโอกาสเป็นหมัน และพบว่าผู้ที่เครียดบ่อยๆพบการแท้งขณะตั้งครรภ์ได้บ่อย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

โรคจิตเวชที่เป็นผลมาจากความเครียดคือ อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล พบว่าผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังและไม่สามารถผ่อนนคลายจะมีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้สูงกว่าคนทั่วไปทำให้คุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงหน้าที่การงานแย่ลง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างดี พบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง โดยมีข้อมูลว่า ร้อยละ 45 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายเป็นโรคซึมเศร้า

นอกจากนี้พบว่าผู้ที่เครียดจะมีพฤติกรรมติดสารเสพติด เช่น บุหรี่ เหล้า และสารเสพติดอื่นๆ

เครียด

ปรับชีวิตบรรเทาเครียด

  • ควรนอนเร็วให้เป็นเวลาและตื่นเช้าให้เป็นเวลา เพื่อทำให้นาฬิกาชีวิตเป็นปกติ ไม่รู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย
  • หากเกิดอาการเครียดต้องรู้จักจัดเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อน เช่น การปฏิบัติธรรม การลาพักร้อนไปท่องเที่ยว
  • ให้เวลากับครอบครัวและสังคม
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักผลไม้
  • หยุดกินยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • จัดสรรเวลาการทำงานให้สมดุลกับชีวิตด้านอื่นๆ
  • ข้อมูล : จากนิตยสารชีวจิต

    บทความเกี่ยวกับโรคเครียดเพิ่มเติม

    4 วิธีแก้ความเครียด ทำตามง่าย ได้ผลจริง

    17 วิธีแก้อักเสบกาย หายโรคเครียดได้จริง

    บรรเทาปวดหัว จากความเครียดได้ด้วยตัวเอง