Welcome to Lifestyle Zone!

ออกกำลังกายอย่างไร ฟื้นฟูภูมิชีวิต พิชิตภูมิแพ้

ออกกำลังกายอย่างไร ฟื้นฟูภูมิชีวิต พิชิตภูมิแพ้

ออกกำลังกายอย่างไร พิชิตภูมิแพ้ ตัวช่วยที่คาดไม่ถึง อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต ถือว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีฟื้นฟูภูมิชีวิต ช่วยให้ภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้นการออกกำลังกายของผู้ป่วยภูมิแพ้ จึงเป็นการซ่อมแซมภูมิคุ้มกันที่บกพร่องให้กลับมาแข็งแรงและทำงานได้อย่างปกติดังเดิม และวงการแพทย์แผนปัจจุบันก็ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายเช่นกัน

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำว่า “หากอยากให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้น การออกกำลังกายสามารถช่วยได้ แต่ต้องทำต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป และหากออกกำลังกายต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจมีผลทำให้หายขาดจากโรคได้ด้วย”

ออกกำลังกายอย่างไร

คุณหมอยังบอกด้วยว่า “หากไม่รับการรักษาและดูแลตัวเองให้ดี ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือโรคหอบหืดมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า และเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ขั้นรุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ รวมถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีก ไม่ว่าจะเป็นโรคไซนัสอักเสบ โรคริดสีดวงจมูก โรคหู ชั้นกลางอักเสบ ซึ่งล้วนเป็นโรคเรื้อรังที่ก่อความรำคาญทั้งสิ้น”

เพื่อรักษาอาการภูมิแพ้และป้องกันโรคดังกล่าว การออกกำลังกายจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม

อ่านหน้าที่ 2

เลือกออกกำลังกายอะไรดี

หากอยากให้โรคภูมิแพ้ทุเลาลงหรือหายขาด ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถ นานา ผู้อำนวยการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อคิดว่า “สมรรถภาพ ร่างกายของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และผู้มีสุขภาพแข็งแรงโดยทั่วไปนั้นไม่ต่างกัน แต่ ควรเลือกออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลาง (Moderate – intensity Activities) ซึ่งมีการเต้นของหัวใจ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ของชีพจรสูงสุดจึงจะดีที่สุด เพราะช่วยลดอาการคัดจมูกทำให้จมูกโล่งขึ้น กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้อาการภูมิแพ้ส่วนบนและส่วนล่างดีขึ้น”

คำแนะนำจากรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบทางเดินหายใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่อธิบายว่า

“การดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะมีงานวิจัยยืนยันชัดเจนว่า การออกกำลังกายสามารถรักษาโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจและโรคพ่วงจากภูมิแพ้ได้ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด หัวใจ และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เมื่อระบบทางเดินหายใจของคนไข้เป็นปกติ จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ไม่มีเสมหะไหลลงคอ จึงไม่เป็นหวัดและติดเชื้อง่าย”

ออกกำลังกายอย่างไร

คุณหมออรพรรณแนะนำว่า ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอครั้งละ 30 – 40 นาที สัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง จึงจะช่วยรักษาโรคภูมิแพ้และโรคพ่วงจากภูมิแพ้ให้หายขาดได้ โดยเฉพาะเด็กมีโอกาสหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ต้องดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย คือ ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์

  1. นั่งพักเฉยๆ อย่างน้อย 5 นาทีก่อนวัด
  2. การวัดชีพจรควรวัดทันทีเมื่อหยุดออกกำลังกายหรือเช็กจากเครื่องวัดโดยไม่ต้องหยุด
  3. ถ้าจับชีพจรเองให้จับเพียง 10 วินาที แล้วเอาตัวเลขที่ได้คูณ 6 ก็จะได้ชีพจรต่อนาที

แหล่งที่มา : การกีฬาแห่งประเทศไทย

อ่านต่อหน้าที่ 3

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย

แม้จะเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะกับตัวคุณเองได้แล้ว แต่เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ เราจึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนี้

  1. ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนออกกำลังกาย และพบแพทย์เพื่อติดตามผลเป็นระยะ
  2. เลือกสถานที่ออกกำลังกายที่มีสารก่อภูมิแพ้และมลภาวะน้อย เช่น โรงยิม หรือสวนสาธารณะชานเมือง เป็นต้น
  3. หากเลือกการออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรเลือกช่วงเวลาเช้า เพราะอุณหภูมิไม่สูงเกินไป และมีความชื้นในอากาศสูง ทำให้สารก่อภูมิแพ้อย่างเกสรดอกไม้และฝุ่นควันมีปริมาณต่ำ เหมาะแก่การออกกำลังกาย หรือเลือกออกกำลังกายในช่วงที่ฝนเพิ่งหยุดตกเพราะฝนช่วยชะล้างฝุ่นละอองในอากาศไปแล้ว
  4. เลือกออกกำลังกายในร่มแทนกลางแจ้ง ในวันที่มีอากาศร้อนจัด
  5. กินยาหรือพ่นยาตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันอาการภูมิแพ้และหอบหืดขณะออกกำลังกาย
  6. ควรอบอุ่นร่างกาย (Warm up) และผ่อนคลาย (Cool down) ให้นานกว่าปกติเล็กน้อย
  7. ขณะออกกำลังกายพยายามหายใจทางจมูก เพราะโพรงจมูกสามารถปรับอุณหภูมิและกรองสารก่อภูมิแพ้ได้ตามธรรมชาติ

Warm up, ออกกำลังกายอย่างไร

Warm up ปรับความพร้อม

การอบอุ่นร่างกายเป็นการเตรียมความพร้อมให้ร่างกาย เพื่อเพิ่มอุณหภูมิภายในให้สูงขึ้นสามารถลดอาการบาดเจ็บได้ โดยอาจารย์สาทิสได้แนะนำวิธีการอบอุ่นร่างกายไว้ในหนังสือ เตะสุดชีวิต สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ดังนี้

1. ซอยเท้าสูงๆ โดยพยายามยกเข่าให้จรดหน้าอก

2. แกว่งแขนสั้น แทงศอกสั้น แกว่งแขนยาวแทงศอกยาว และทำให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ

3. เตะไปข้างหน้า โดยให้ปลายเท้าเหยียดตรงสลับกับปลายเท้าตั้ง

ทำเช่นนี้ประมาณ 5 นาที หรือพอให้เหงื่อซึมคุณก็พร้อมสำหรับการออกกำลังกายแล้ว!

อาหาร, ออกกำลังกายอย่างไร

ปรับอาหารเสริมพลัง

การโหมออกกำลังกายอย่างเดียวอาจไม่ช่วยให้โรคภูมิแพ้หายขาดร้อยเปอร์เซนต์ ดังที่อาจารย์สาทิสเคยกล่าวไว้ว่า เราควรดูแลสุขภาพด้วยหลักปัญจกิจคือ กิน นอน ทำงาน พักผ่อน ออกกำลังกาย ให้สมดุล

ดังนั้นอย่าลืมกินอาหารให้ตรงเวลาและปรับอาหารตามสูตรชีวจิตสูตร 1 ซึ่งมีสัดส่วนอาหารในแต่ละมื้อดังนี้

  • อาหารประเภทแป้งซึ่งไม่ขัดขาว เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวโพดขนมปังโฮลวีต คิดเป็นปริมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
  • ผักดิบและสุกอย่างละครึ่ง โดยเลือกผักไม่ใช้สารเคมีจะดีที่สุด รวม 25 เปอร์เซ็นต์
  • ถั่วต่าง ๆ ในประเภทโปรตีน 15 เปอร์เซ็นต์ และโปรตีนจากปลาและอาหารทะเลประมาณสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง
  • ของกินเล่น เช่น แกงจืด แกงเลียง ซุปมิโซะ สาหร่ายทะเล งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม และผลไม้สดที่ไม่หวาน ปริมาณรวม 10 เปอร์เซ็นต์
  • นอกจากนี้ควรงดเนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ เป็ด เนื้อวัว น้ำตาลขาวทุกชนิดขนมหวาน ไอศกรีม อาหารรสมันที่ใช้น้ำมัน เนย นม กะทิ และงดผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งขาวทุกชนิดด้วย เช่น ข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน

    บทความน่าสนใจอื่นๆ

    วอร์มอัพ เข้าใจอย่างถูกต้อง ออกกำลังกายจะปลอดภัย

    เทคนิคเตรียมตัวออกกำลังกาย สำหรับคนเป็น หอบหืด

    5 เคล็ดลับ ออกกำลังกายให้สนุก

    ภูมิแพ้ ออกกำลังกาย ออกกำลังกายแก้ภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้