Welcome to Lifestyle Zone!

ปั่นจักรยาน สู้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน

การเดินทางเพื่อไปพูดคุยกับคุณภวัต เรืองเดชวรชัย หรือคุณโบ้ ชายหนุ่มวัย 38 ปี เจ้าของประสบการณ์สุขภาพในปักษ์นี้ สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เขียนมากกว่าทุกครั้ง เมื่อรู้อยู่กลายๆ ว่าสิ่งที่จะได้รับฟังในอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้า เป็นเรื่องราวของโรคประหลาด ที่น้อยคนในประเทศไทยจะโชคร้ายมีโอกาสเผชิญ…โรคจีบีเอส (GBS) หรือ โรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome)

ขั้นตอนการรักษาของคุณโบ้ เริ่มจากการแอดมิทเพื่อสังเกตอาการในห้องไอซียูทันที รวมถึงให้ยาในกลุ่มต้านไวรัสร่วมกับน้ำเกลืออย่างต่อเนื่องผ่านหลอดเลือดดำ โดยคุณหมอได้ให้ข้อมูลกับเขาว่า ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการค่อยๆ ดีขึ้น แต่บางรายอาจทรุดหนักลงจนถึงจุดต่ำสุดในช่วง 8-10  วันแรก ซึ่งโชคอาจไม่เข้าข้างคุณโบ้เท่าไรนัก

“อาการผมทรุดหนักถึงขั้นวิกฤติในวันที่ 8 ของการรักษา ผมเริ่มหายใจลำบาก กลืนอาหารและน้ำไม่ได้ รูปหน้าเริ่มเปลี่ยนไป เนื่องจากกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้รับผลกระทบจากอาการของโรค รวมถึงรู้สึกว่าร่างกายค่อยๆ ชาลงทีละส่วนๆ เริ่มจากมือ เท้า แขน ขา ลำตัว คอ และใบหน้า”กิลแลง-บาร์เร่, กิลแลงบาร์เร่, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน, จักรยาน, ปั่นจักรยาน, ออกกำลังกาย, อัมพฤกษ์, อัมพาต

ซ้ำร้ายกว่านั้น ชีพจรและค่าออกซิเจนในร่างกายของเขาก็ไม่ค่อยสู้ดีนัก และมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่ง…

“กลางดึกคืนนั้น ผมได้ยินสัญญาณจากเครื่องมอนิเตอร์ของผมร้องดังขึ้น จนเจ้าหน้าที่ห้องไอซียูเข้ามาดูด้วยความตกใจและพยายามติดต่อคุณหมอด้านทางเดินหายใจเพื่อมาดูอาการและเตรียมตัวรักษาในช่วงวิกฤติ”

แน่นอนว่าในสภาวะที่ลมหายใจเริ่มแผ่วเบา และความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม ทางออกจึงมีให้เลือกไม่มากนัก หนึ่งคือการสอดท่อเหล็กเข้าไปในช่องปาก หรือสองคือ เจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งครอบครัวของคุณโบ้ตัดสินใจเลือกวิธีแรก

“ผมรู้สึกตัวอีกทีก็มีท่อช่วยหายใจขนาดยาวกว่า 1 ฟุตอยู่ในปากเรียบร้อยแล้ว ความรู้สึกตอนนั้นทั้งเจ็บ ทั้งทรมาน และอึดอัดมาก ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่มาพลิกตัว เอ็กซเรย์ หรือแม้แต่ทำความสะอาดร่างกายเล็กๆ น้อยๆ ความเจ็บปวดจะยิ่งถาโถมมาหาผมอย่างไม่ปรานี

“ทุกๆ วัน ผมจะเฝ้ามองนาฬิกาว่าเมื่อไหร่เข็มยาวสั้นจะวนมาถึง 10 โมงเช้า ซึ่งเป็นเวลาที่ผมจะได้พบคุณหมอ และลุ้นว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ และสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้แล้วหรือยัง”

และแล้ววันที่คุณโบ้รอคอยก็มาถึง เมื่อเช้าวันที่ 19 ของการรักษา คุณหมอแจ้งข่าวดีว่าอนุญาตให้ถอดเครื่องช่วยหายใจออก และย้ายเขาออกจากห้องไอซียูไปห้องผู้ป่วยธรรมดา เพื่อเริ่มต้นกระบวนการฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

“ผมเริ่มขยับตัว นิ้วมือ และเท้าได้บ้างเล็กน้อย ทำให้ใจชื้นขึ้น จนกระทั่งวันที่เริ่มทรงตัวนั่งเองได้ ผมเห็นสภาพร่างกายตัวเองครั้งแรก แล้วช็อคมาก ขาลีบลงอย่างห็นได้ชัด น้ำหนักลดฮวบจาก 84 กิโลกรัม เหลือ 69 กิโลกรัม ในระยะเวลาแค่ 2-3 อาทิตย์เท่านั้น”

“เพราะกลัวว่าจะเดินไม่ได้ไปตลอดชีวิต ผมจึงทุ่มเทให้กับการทำกายภาพที่ทั้งหนักหน่วงและเหนื่อยสาหัส โดยทำวันละ 2 รอบ รอบละ 2-3 ชั่วโมง หลังเสร็จโปรแกรมในแต่ละวัน ผมเหนื่อยจนแทบสลบ แต่ก็สู้ใจขาดดิ้น”

หลังจากทำกายภาพได้ไม่นาน  ร่างกายของคุณโบ้ก็เริ่มตอบสนองดีขึ้น จนกระทั่งสามารถประคองตัวเดินในระยะทางสั้นๆ โดยใช้วอล์คเกอร์ได้ คุณหมอเจ้าของไข้จึงอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน และนัดหมายให้มาตรวจติดตามโรคที่โรงพยาบาลเป็นระยะๆEMAG 422-40

คุณโบ้ใช้เวลาเพียงแค่ 2 เดือนหลังจากออกจากโรงพยาบาลในการฟื้นฟูร่างกาย จนสามารถกลับมาเป็นปกติได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงอาการชา แขนขาอ่อนแรง และกล้ามเนื้อลีบแบน เขาจึงตัดสินใจพึ่งพาผู้ช่วยคนสำคัญที่เคยถูกหมางเมินอย่าง “การออกกำลังกาย”