Welcome to Lifestyle Zone!

ผลไม้ไทย ยาใกล้ตัวจากธรรมชาติ

ผลไม้ไทย ยาใกล้ตัวจากธรรมชาติ

            ผลไม้ไทย นอกจากจะมีรสชาติอร่อยถูกปาก ยังมีสรรพคุณทางยา มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายที่เราสามารถกินเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยพื้นฐานได้

หนังสือชื่อ สมุนไพรผลไม้ โดย อฤชร พงษ์ไสวพูดถึงประโยชน์ของผลไม้ไทยในด้านการรักษาแบบแพทย์แผนไทยไว้ว่า คนโบราณบ้านเราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นเปลือก ผล เมล็ด ราก หรือใบ มาปรุงเป็นยาที่สำคัญ ในปัจจุบันมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า สารเคมีที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของผลไม้มีสรรพคุณทางยารักษาโรคได้จริงŽ

มะเฟือง (Starfruit)

นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้ว ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ มะเฟืองสุกยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูก ช่วยขับเสมหะได้

ในด้านสมุนไพร เราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้

ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่วในปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยขจัดรังแค นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟืองยังใช้ลบรอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ได้ดีอีกด้วย

ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดูหรือหากนำมาบดให้ละเอียดพอกบนผิวหนัง จะ ช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวม แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส

ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำช่วยดับพิษร้อน แก้อาการปวดศีรษะ ปวดตามข้อ ต่างๆ ในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ส่วน ดอก มะเฟืองนิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อ ช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ

สูตรยารักษาผิวหนังจากมะเฟือง

รักษา แก้กลากเกลื้อน อีสุกอีใส และผื่นคัน

ส่วนที่ใช้ ใบและดอกมะเฟือง

วิธีใช้ ตำใบสด ยอดอ่อน หรือดอก ให้ละเอียด แล้วพอกแผลการ

ข้อควรระวัง ผลมะเฟืองมีกรดออกซาติกอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้ อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้รู้สึกปวดท้อง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้งได้

อ่านต่อหน้าที่ 2

มะยม (Star Gooseberry)

เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง จึงมีฤทธิ์ในการ ช่วยสมานแผลและ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ ในยอดอ่อนมีฟอสฟอรัส ช่วยในการขับเหงื่อ และ กระตุ้นการเจริญอาหาร รากของมะยมมีสารแทนนิน (Tannin) อยู่ค่อนข้างสูง ใช้แก้ไข้ แก้อาการหอบหืด และปวดศีรษะ

สูตรยาจากมะยม

การรักษา 1 แก้อาการคัน

ส่วนที่ใช้ รากมะยม

วิธีใช้ ต้มรากมะยมประมาณ 1 กิโลกรัมกับน้ำ 10 ลิตรให้เดือด ทิ้งไว้ให้อุ่น นำมาอาบ หรือใช้ราก

มะยมฝนกับน้ำซาวข้าว ทาวันละ 2 – 3 ครั้ง อาการจะดีขึ้น

การรักษา 2 แก้ปวดศีรษะ

ส่วนที่ใช้ ใบ

วิธีใช้ ต้มใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือกับน้ำตาลกรวดให้เดือด นาน 5 – 10 นาทีแล้วดื่ม จะช่วยลดอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูงได้

ข้อควรระวัง รากของมะยมมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยใช้ผสมกับอาหาร กินแล้วจะเกิดอาการเมาและอาเจียน

 ผลไม้ไทย

อ่านต่อหน้าที่ 3

มะขาม (Tamarind)

นับได้ว่าเป็นผลไม้พื้นบ้านที่คนไทยรู้จักมาช้านาน อีกทั้งเราสามารถนำส่วนต่างๆ ของมะขามมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคได้แทบทั้งสิ้น เช่น ในเนื้อมะขามมี สารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ซึ่งช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกตินอกจากนั้นยังมีกรดอินทรีย์ (Organic acid) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาริก (Tartaric acid) และกรดซิตริก (Citric acid) ทำให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เพิ่มกากใยอาหารและช่วยหล่อลื่นให้ขับถ่ายสะดวก

แก้สารพัดโรคจากมะขาม

            การรักษา 1 ทาแก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ส่วนที่ใช้ เปลือกของเมล็ด

วิธีใช้ นำเมล็ดมะขามสุกไปคั่วไฟให้สุก กะเทาะเอาแต่เปลือก ไปบดให้ละเอียด แล้วคลุกกับน้ำมัน

ละหุ่งหรือน้ำมัน มะพร้าว พอกแผลวันละ 2 – 3 ครั้ง

การรักษา 2 รักษาฝีและแผลเรื้อรัง

ส่วนที่ใช้ เมล็ดมะขาม

วิธีใช้ คั่วเมล็ดมะขามให้สุก กะเทาะเปลือกทิ้ง นำไปแช่น้ำจนนิ่ม ตำพอกแผล

การรักษา 3 แก้แมลงสัตว์กัดต่อย

ส่วนที่ใช้ เมล็ดมะขาม

วิธีใช้ ผ่าเมล็ดตามแนวขวาง นำส่วนที่ถูกผ่าไปฝนกับน้ำมะนาว ใช้ปิดรอยแมลงกัด เมล็ดมะขามจะ

ช่วยดูดพิษออกมาได้

การรักษา 4 แก้ไอ ขับเสมหะ

ส่วนที่ใช้ เนื้อมะขาม

วิธีใช้ นึ่งเนื้อมะขามให้สุก คั้นกับน้ำให้ข้นๆ เติมเกลือลงไปเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ

กินผลไม้เป็นยาอย่างไรไม่ให้มีผลข้างเคียง

เมื่อเห็นเรื่องสรรพคุณทางยาของผลไม้ใกล้ตัวไปเรียบร้อยแล้ว จะอธิบายต่อถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยาสมุนไพรโดยไม่มีความรู้ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ ตำรายาโบราณŽ ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กระทรวงสาธารณสุขว่า

ไม่เฉพาะแต่ผลไม้ไทย สมุนไพรทุกชนิดแม้จะมีผลข้างเคียงในการรักษาค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน แต่หากใช้โดยไม่ระมัดระวังก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนนำผลไม้หรือสมุนไพรใกล้ตัวมาปรุงเป็นยา ควรศึกษาและหาทางป้องกันดังต่อไปนี้

  • กินแต่น้อยเพื่อความมั่นใจ หากไม่เคยกินยาขนานนั้นมาก่อน ควรเริ่มกินในปริมาณที่น้อยๆ เช่นกินเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่กำหนดมาให้ เพื่อรอดูว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ หากไม่มีอะไรเกิดขึ้นค่อยกินต่อไป
  • อย่าใช้ยาเกินขนาดและผิดประเภท เป็นต้นว่า ยาบางชนิดใช้ต้มผสมน้ำดื่มก็ไม่ควรนำไปต้มจนงวด เพราะการกินยาที่มีความเข้มข้นเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  • ศึกษาพิษของยาก่อนกิน ก่อนที่จะใช้ยาสมุนไพรไม่ว่าประเภทใดก็ตาม ควรรู้พิษแลผลข้างเคียงของยาเสียก่อน เพื่อจะได้ระมัดระวังมากขึ้น
  • ไม่ควรกินยาตัวเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น แม้ยาสมุนไพรส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีผลข้างเคียงในระยะเฉียบพลัน แต่การกินติดต่อกันนานๆอาจทำให้เกิดการสะสมและเป็นอันตรายได้
  • คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 202 (1 มีนาคม 2550)

    บทความน่าสนใจอื่นๆ

    น้ำผักผลไม้ต้านมะเร็ง ทำวิธีไหนปังสุด

    7 ผักผลไม้เด็ด กินต้านโรค

    กองทัพ ผัก-ผลไม้ต้านเครียด