Welcome to Lifestyle Zone!

ผลไม้ไทยใช้เป็นยา

ผลไม้ …ยาจากธรรมชาติ

ผลไม้ ไทยมีประโยชน์กว่าที่คิด อาจารย์เนตรนภิส ธนนิเวศน์กุล จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายเราได้รับจากการกินผลไม้เข้าไปทุกวัน เปรียบเหมือนสารหล่อลื่นที่ทำให้เครื่องยนต์หรือกระบวนการต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ

นอกจากนั้น ผลไม้ทุกชนิดยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารพฤกษเคมีสำคัญหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ หรือแอนติออกซิแดนท์ (Antioxidant) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยชะลอความชราได้อีกด้วย

บ้านเราเป็นประเทศที่โชคดีทีเดียว มีผลไม้มากมายหลายชนิดให้เลือกซื้อรับประทานแทบทุกฤดูกาลจากทุกภูมิภาคเลยก็ว่าได้ นี่ยังไม่รวมแอ๊ปเปิ้ลเมืองจีน องุ่นแดงแคลิฟอร์เนีย และผลไม้อิมพอร์ตทั้งหลาย

พอเรามีตัวเลือกมากขึ้น หลายคนจึงหลงลืมผลไม้สัญชาติไทยในสวนหลังบ้านอย่างมะเฟือง ทับทิม มะยม มะขามป้อม ไปเสียถนัดใจ ทั้งที่ผลไม้เหล่านี้มีสรรพคุณทางยาที่เราสามารถนำมารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ มากมายและหาได้ใกล้ตัวŽ

ผลไม้ไทย…ยาใกล้ตัว

ในหนังสือชื่อ สมุนไพรผลไม้ โดย อฤชร พงษ์ไสวพูดถึงประโยชน์ของผลไม้ไทยในด้านการรักษาแบบแพทย์แผนไทยไว้ว่า คนโบราณบ้านเราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นเปลือก ผล เมล็ด ราก หรือใบ มาปรุงเป็นยาที่สำคัญ ในปัจจุบันมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า สารเคมีที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของผลไม้มีสรรพคุณทางยารักษาโรคได้จริงŽ

  1. มะเฟือง (Starfruit) นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้ว ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ มะเฟืองสุกยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูก ช่วยขับเสมหะได้

ในด้านสมุนไพร เราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้

– ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่วในปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยขจัดรังแค นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟืองยังใช้ลบรอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ได้ดีอีกด้วย

– ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดูหรือหากนำมาบดให้ละเอียดพอกบนผิวหนัง จะ ช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวม แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส

– ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำช่วยดับพิษร้อน แก้อาการปวดศีรษะ ปวดตามข้อ ต่างๆ ในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ส่วน ดอก มะเฟืองนิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อ ช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ

– สูตรยารักษาผิวหนังจากมะเฟือง การรักษาแก้กลากเกลื้อน อีสุกอีใส และผื่นคัน ส่วนที่ใช้ ใบและดอกมะเฟือง วิธีใช้ ตำใบสด ยอดอ่อน หรือดอก ให้ละเอียด แล้วพอกแผล

ข้อควรระวัง ผลมะเฟืองมีกรดออกซาติกอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้ อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้รู้สึกปวดท้อง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้งได้

  1. ส้มโอ (Pomelo) ในส้มโอมีสารเพกทิน (Pectin) สูง จึงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังมีสารโมโนเทอร์ปีนที่ช่วยในการกวดจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้นส้มโอยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง คือช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย

– ใบ ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วย่างไฟให้อุ่น ใช้พอกบริเวณที่ปวดบวมหรือปวดศีรษะได้

– เปลือกผล เปลือกผลของส้มโอ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ แก้ท้องอืด แน่นหน้าอก ไอ สามารถใช้เปลือกผลตำพอกฝี และใช้จุดไฟไล่ยุงได้ หรือหากนำเปลือกผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็น ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคหืดได้

– เมล็ด ของส้มโอมีสรรพคุณ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารลดอาการปวดบวมของผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคอได้อีกด้วย

– ผล ช่วยเจริญอาหาร หากรับประทานเนื้อส้มโอหลังอาหารจะ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

– สูตรยาจากส้มโอ รักษา ฝี ส่วนที่ใช้ เปลือกผลแก่ของส้มโอ

วิธีใช้ ตำเปลือกผลแก่ให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี วันละ 2 – 3 ครั้ง หัวฝีจะหลุด

– สูตรยาจากส้มโอ รักษา แก้อาการอาหารไม่ย่อย ส่วนที่ใช้ เปลือกผลแก่ของส้มโอ

วิธีใช้ นำเปลือกผลแก่ไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นใช้ 10 กรัมไปต้มรวมกับลูกเร่วแห้ง 10 กรัม ใบกระเพาะอาหารไก่ 1 ใบ ผักคาวทองสด 15 กรัม ผงยีสต์แห้ง 1 ช้อนชา รับประทานหลังอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากอาหารไม่ย่อย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

  1. มะยม (Star Gooseberry) เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง จึงมีฤทธิ์ในการช่วยสมานแผลและใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ ในยอดอ่อนมีฟอสฟอรัส ช่วยในการขับเหงื่อ และ กระตุ้นการเจริญอาหาร รากของมะยมมีสารแทนนิน (Tannin) อยู่ค่อนข้างสูง ใช้แก้ไข้ แก้อาการหอบหืด และปวดศีรษะ นอกจากนั้นส่วนต่างๆ ของมะยมยังสามารถใช้รักษาอาการต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

– รักษา แก้อาการคัน ส่วนที่ใช้ รากมะยม

วิธีใช้ ต้มรากมะยมประมาณ 1 กิโลกรัมกับน้ำ 10 ลิตรให้เดือด ทิ้งไว้ให้อุ่น นำมาอาบ หรือใช้ราก

มะยมฝนกับน้ำซาวข้าว ทาวันละ 2 – 3 ครั้ง อาการจะดีขึ้น

– รักษา ยาอดบุหรี่ ส่วนที่ใช้ แก่นมะยม

วิธีใช้ นำแก่นมะยมมาฝานให้ได้ขนาดชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น ต้มกับน้ำ 1 แก้วนาน 5 นาที ดื่มให้หมดแก้ว กินติดต่อกัน 1 อาทิตย์ จะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้

– รักษา แก้ปวดศีรษะ ส่วนที่ใช้ ใบ

วิธีใช้ ต้มใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือกับน้ำตาลกรวดให้เดือดนาน 5 – 10 นาทีแล้วดื่ม จะช่วยลด

อาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูงได้

ข้อควรระวัง รากของมะยมมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยใช้ผสมกับอาหาร กินแล้วจะเกิดอาการเมาและอาเจียน

  1. มังคุด (Mangosteen) เป็นผลไม้ที่เนื้อในของผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลมกล่อม และได้รับการยกย่องให้เป็นราชินีของผลไม้ทั้งปวง เนื่องจากมีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วคล้ายมงกุฎราชินี ทั้งในเปลือกมังคุดยังมีสารแทนนิน และมีสารแมงโกสติน (Mangostin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง อยู่มากถึง 7 – 14 เปอร์เซ็นต์

ในแง่สมุนไพร เปลือกมังคุดจึงมีสรรพคุณในการใช้รักษาโรคผิวหนัง และนิยมนำไปสกัดทำเป็นสบู่ ครีมพอกหน้า และยารักษาสิวฝ้าได้อีกด้วย อีกทั้งส่วนต่างๆ ของมังคุดยังสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ดังนี้

– รักษา แก้แผลพุพอง กลากเกลื้อน ส่วนที่ใช้ เปลือกมังคุดแห้ง

วิธีใช้ ใช้เปลือกมังคุดแห้งของผลแก่ฝนกับน้ำปูนใสให้ได้ตัวยาเป็นหนอง ข้นๆ ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 2 – 3 ครั้งอาการจะดีขึ้น หรือใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1 – 2 ผลต้มกับน้ำ 1 ลิตร ล้างแผล วันละ 3 – 4 ครั้งก็ได้เช่นเดียวกัน

– รักษา รักษาแผลในปาก ส่วนที่ใช้ เปลือกมังคุด

วิธีใช้ นำไปต้ม ใช้เป็นยากลั้วคอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อราในปาก

– รักษา รักษาแผลน้ำกัดเท้า ส่วนที่ใช้ เปลือกมังคุดแห้ง

วิธีใช้ นำเปลือกมังคุดที่ตากแดดจนแห้งไปฝนกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น ทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 – 4 ครั้ง จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น

– รักษา แก้ท้องเสียท้องร่วงเรื้อรัง บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ส่วนที่ใช้ เปลือกแห้งของผลแก่

วิธีใช้ ใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1 ผล ต้มกับน้ำให้เดือด 5 – 10 นาที รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 4 ชั่วโมง หรือใช้ เปลือกมังคุดแห้งครึ่งผลย่างไฟให้เกรียม บดเป็นผงละลายในน้ำครึ่งแก้ว รับประทานทุก 2 ชั่วโมง อาการจะทุเลา

ข้อมูลจาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต