Welcome to Lifestyle Zone!

เทคนิคการ กินไขมัน สำหรับผู้ป่วย

เทคนิค กินไขมัน สำหรับผู้ป่วย

กินไขมัน ? ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็น ต้องจำกัดปริมาณให้เหมาะสม เพราะหากกินมากไป ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วย ซึ่งควรรู้เทคนิคการกินเพื่อควบคุมอาการป่วยไม่ให้ลุกลาม ดังนี้

  • โรคเบาหวาน มักมีผลทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันในส่วนของไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ยังมีผลทางอ้อมที่สัมพันธ์กับคอเลสเตอรอลด้วย แม้โรคเบาหวานจะไม่ค่อยมีผลต่อคอเลสเตอรอล ในเลือดของผู้ป่วยมากนักเมื่อเทียบกับคนไม่เป็น แต่ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีหลอดเลือดไม่แข็งแรง ดังนั้นจึงต้องดูแลตัวเองให้มีไขมันต่ำกว่าคนปกติ หรือใกล้เคียงปกติเพื่อดูแลเส้นเลือด ให้สุขภาพแข็งแรง
  • ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมอาหาร ที่มาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอล

  • โรคเกี่ยวกับออโตอิมมูน รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำเรื่องการกิน ไขมันของคนที่เป็นโรคกลุ่มนี้ว่า โรคเกี่ยวกับระบบออโตอิมมูน เช่น เอสแอลดี รูมาทอยด์ นั้นสัมพันธ์ กับความสมดุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง คือ โอเมก้า -3 และโอเมก้า -6 ซึ่งโอเมก้า-6 จะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดภาวะการอักเสบในเซลล์ ดังนั้นถ้าได้รับโอเมก้า-6 มากเกินไป จะทำให้เกิดฟรีแรดิเคิลซึ่งจะไปเร่งการอักเสบ
  • ดังนั้นผู้ป่วย ควรลดการกินอาหารที่มีโอเมก้า-6 แล้วเพิ่มอาหารที่มีโอเมก้า-3 เพื่อช่วยลดการอักเสบ

    คลิกเลข 2 เพื่ออ่านหน้าถัดไป

  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูงจากพันธุกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำว่า หากมีประวัติชัดเจนว่า พ่อแม่พี่น้องมีคอลเลสเตอรอลสูง อาจมีโอกาสเสี่ยง จะเกิดความผิดปกติ ที่กระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงไขมันที่ตับ ไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีความผิดปกติกลุ่มนี้จะอ้วนไม่มากนัก แต่สามารถวัดระดับคอเลสเตอรอลได้สูงเกิน 300 หรืออาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีคอเลสเตอรอลเกาะตามผิวหนัง ตา หรือข้อต่างๆ
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงควรควบคุมอาหารประเภทไขมันให้สมดุล และควรพบแพทย์สม่ำเสมอ

    เลือกกินให้เหมาะสมกับสุขภาพ และอาการโรคก็จะช่วยให้สุขภาพเลิศได้

    ข้อมูลเรื่อง “เทคนิคกินไขมัน สำหรับผู้ป่วย” จาก คอลัมน์ เรื่องพิเศษ ฉบับที่ 263