Welcome to Lifestyle Zone!

5 “ต้นอ่อน” ยอดนิยม อร่อย-อ่อนเยาว์-แข็งแรง

รู้จักกิน “ต้นอ่อน” เพื่อ อร่อย-อ่อนเยาว์-แข็งแรง และอายุยืน

รู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เห็นเมล็ดพืชที่บรรจงปลูกรดน้ำเช้า – เย็น แทงยอด ผลิใบ เปลี่ยนจากเมล็ดพืชที่นอนสงบนิ่ง กลายเป็นต้นอ่อนเปี่ยมไปด้วยพลังชีวิต

แต่ความตื่นเต้นจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อรู้ว่า “ต้นอ่อน” ต้นน้อยที่ปลูกเองด้วยสองมือ มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ต้านสารพัดความเสื่อม และป้องกันสารพันโรคร้ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

วันนี้จะชวนคุณผู้อ่านมารู้จักกับต้นอ่อนยอดนิยม ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อมูลจากห้องวิจัยมาร่วมยืนยันว่า กินแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่ออย่างแน่นอนค่ะ

เมื่อเมล็ดแปลงร่างเป็นต้นอ่อน                                

เมล็ดพืช 1 เมล็ดอัดแน่นไปด้วยสารอาหารสำคัญที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ ความชื้น และสภาวะที่เหมาะสม สารอาหารที่อัดแน่นอยู่ภายในเมล็ด ก็พร้อมจะปลดปล่อยและแสดงพลังออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้เมล็ดแทงรากเจริญเติบโตเป็นลำต้นและใบอย่างสมบูรณ์

ต้นอ่อนนับเป็นระยะแรกของการเจริญเติบโต จึงอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพ เช่น สารแอนติออ5 ต้นอ่อนยอดนิยม, ต้นอ่อน, อ่อนเยาว์, sproutกซิแดนต์และสารพฤกษเคมี (Phytochemical) หลายชนิด

วารสาร Acta Universitatis Sapientiae กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารในต้นอ่อนไว้อย่างน่าสนใจว่า

ไม่เพียงอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย แต่สารอาหารในต้นอ่อนยังช่วยลดภาระการทำงานของระบบย่อยอาหารอีกด้วย

เพราะเมื่อเมล็ดพืชเติบโตเป็นต้นอ่อน สารอาหารแต่เดิมซึ่งเคยอยู่ในรูปของน้ำตาล โปรตีน และไขมัน จะเปลี่ยนรูปกลายเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก เช่น จากน้ำตาลโมเลกุลคู่ เปลี่ยนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว โปรตีนเปลี่ยนเป็นกรดแอมิโน (Amino Acid) และไขมันเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน

ด้วยคุณสมบัตินี้ ต้นอ่อนจึงกลายเป็นพืชอาหารที่ย่อยง่าย จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารมาใช้ได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว

กินต้นอ่อนให้ปลอดแบคทีเรียอันตราย

          เมล็ดพืชต้องการความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อเจริญเติบโต เป็นต้นอ่อนที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่สภาวะดังกล่าวก็ช่วยให้แบคทีเรียอันตรายเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน

แซลโมเนลลา (Salmonella) ลิสเทอเรีย (Listeria) และอี โคไล (E. coli) คือแบคทีเรียที่พบปะปนมากับต้นอ่อนที่ปลูกเองหรือซื้อตามท้องตลาด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียและโรคอาหารเป็นพิษที่รุนแรงได้5 ต้นอ่อนยอดนิยม, ต้นอ่อน, อ่อนเยาว์, sprout

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงออกประกาศเตือนให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อ พร้อมแนะวิธีกินต้นอ่อนให้ปลอดจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ดังนี้

  1. หลังซื้อต้นอ่อนสดจากตลาดควรเก็บไว้ในตู้เย็นทันที ความเย็น จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้
  2. ควร ปรุงต้นอ่อนให้สุกก่อนกิน โดยเฉพาะในเด็ก หญิงตั้งครรภ์หรือผู้สูงอายุที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีประวัติแพ้อาหารจนเกิดอาหารท้องเสียบ่อยครั้ง
  3. ซื้อเมล็ด พันธุ์หรือต้นอ่อนปลูกสำเร็จจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยสังเกตจากการระบุแหล่งผลิคภัณฑ์และการรับรองมาตรฐาน ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practices : GAP) ภายใต้สัญลักษณ์ “Q” จากกรมวิชาการเกษตร

มารู้จักต้นอ่อนชนิดเเรกกันเลย “ต้นอ่อนข้าวสาลี” ค่ะ

ประโยชน์มากแค่ไหน วิธีกินให้อร่อยและได้คุณค่าเป็นอย่างไร อ่าน หน้าถัดไป ค่ะ

ต้นอ่อน ข้าวสาลี

เพิ่มเลือด ฟื้นฟูลำไส้

ต้นอ่อนข้าวสาลีหรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า วีตกราส (Wheatgrass) เป็นแหล่งของวิตามินเอ ซี อี ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม และกรดแอมิโน

ยิ่งคิด ยิ่งฉงน ไม่น่าเชื่อว่า ต้นอ่อนสีเขียวสด ใบเรียวแหลมคล้ายต้นหญ้า จะมีสรรพคุณเพิ่มเลือดในร่างกาย ดังข้อมูลงานวิจัยจาก Journal of Clinical Oncology ที่พบว่า การดื่มน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีวันละ 30 – 100 มิลลิลิตร หรือกินสารสกัดจากต้นอ่อนข้าวสาลีวันละ 1,000 มิลลิกรัม ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน สามารถเพิ่มปริมาณเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงได้

จึงช่วยลดจำนวนครั้งในการถ่ายเลือด (Blood Transfusion) และลดปริมาณการให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น (Pack Red Cell) ในผู้ป่วยที่มีโลหิตจางโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไขกระดูก (สภาวะของโรคทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ)

สำหรับอีกหนึ่งสรรพคุณเด่นที่ได้รับการกล่าวถึงไม่แพ้กันคือ ช่วยรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยวารสาร Scandinavian Journal5 ต้นอ่อนยอดนิยม, ต้นอ่อน, อ่อนเยาว์, sprout of Gastroenterology เปิดเผยว่า หลังทดลองให้อาสาสมัครชาวอิสราเอลจำนวน 19 คนที่ได้รับการวินิจฉันเป็นโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอักเสบ (Ulcerative Colitis) ดื่มน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีปริมาณครึ่งแก้ว (100 มิลลิลิตร) ต่อเนื่องนาน 1 เดือน

พบว่า น้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีช่วยให้อาการของโรคทุเลาลง ทั้งช่วยลดความถี่ของการถ่ายเป็นเลือดโดยไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นักวิจัยจึงสรุปในตอนท้ายของรายงานว่า สามารถดื่มน้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีเพื่อรักษาโรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอักเสบควบคู่ไปกับการรักษาด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบันได้อย่างปลอดภัย

How to eat

หลังปลูกต้นอ่อนข้าวสาลีประมาณ 1 สัปดาห์ ใช้มีดหรือกรรไกรสะอาดตัดต้นอ่อนข้าวสาลีที่สูงขึ้นมาจากดินปลูกครึ่งนิ้ว ประมาณหนึ่งกำมือ นำมาล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในเครื่องปั่น จากนั้นเติมน้ำ 2 – 3 แก้ว (500 – 700 มิลลิลิตร) ปั่นนาน 60 วินาที กรองส่วนผสมด้วยผ้าขาวบาง แล้วเทใส่แก้ว

ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ควรดื่มน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีให้หมดทันที และไม่ควรทิ้งไว้ข้ามวัน

ชนิดต่อไป “ต้นอ่อน อัลฟัลฟ่า” หน้าถัดไป ค่ะ

ต้นอ่อน อัลฟัลฟา

ลดไขมัน ช่วยคนวัยทองแข็งแรง

ต้นอ่อนอัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นแหล่งของไฟโตเอสโทรเจน (Phytoestrogen) ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) วิตามินเอ บี ซี อี และโฟแทสเซียม

การศึกษาทั้งในคนและสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีสารไฟโตเอสโทรเจนสูงช่วยป้องกันโรคและอาการต่าง ๆ ที่พบมากในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ฮอร์โมนจากธรรมชาตินี้จะช่วยป้องกันคุณผู้หญิงในวัย 45 ปีขึ้นไปจากโรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และอาการต่าง ๆ จากภาวะวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ ชาปลายมือปลายเท้า เหงื่อออกง่าย อารมณ์แปรปรวนAlfalfa

ต้นอ่อนอัลฟัลฟาไม่เพียงช่วยให้คุณผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง อ่อนวัย แต่ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วย

การศึกษาเรื่องหนึ่งที่ตีพิมลงใน Journal of Naturopathic Medicine ระบุว่า การกินต้นอ่อนอัลฟัลฟาสดหรือในรูปแบบสารสกัด ล้วนมีประสิทธิภาพช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและลดการก่อตัวของพลัค (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดแดง สาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

เนื่องจากไฟโตสเตอรอลซึ่งพบในต้นอ่อนอัลฟัลฟาทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในอาหารมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลร้ายชนิดแอลดีแอล (LDL Cholesteral) โดยไม่ลดระดับคอเลสเตอรอลดีชนิดเอชดีแอล (HDL Cholesteral) ซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดทิ้งที่ตับ

How to eat

          ดร.มิเชลล์ แอนเน็ตต์ สมิธ (Michelle Annette Smith) นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหัฐอเมริกา (Us Food and Drug Administration) เตือนว่า การกินต้นอ่อนอัลฟัลฟาสดอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียแซลโมเนลลา (Salmonella) ได้ โดยมีรายงานพบว่า แต่ละปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยหลายรายมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องเสีย มีไข้ และปวดท้อง ภายใน 12 – 72 ชั่วโมงหลังกินต้นอ่อนอัลฟัลฟาสด

เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพและปลอดภัยไปพร้อมกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ล้างต้นอ่อนอัลฟัลฟาสดด้วยน้ำสะอาด ทั้งไม่ลืมปรุงสุกก่อนกิน หรือลวกในน้ำเดือดเพื่อป้องกันแบคทีเรียก่อโรค

ตามมาด้วนต้นอ่อนยอดฮิต ได้แก่ “ต้นอ่อนทานตะวัน”
แต่ประโยชน์อย่างไร และกินไงให้อร่อย ต้องอ่าน หน้าถัดไป ค่า

ต้นอ่อนทานตะวัน

ต้านหน้าแก่ ยับยั้งเบาหวาน

ต้นอ่อนทานตะวันมีส่วนประกอบสำคัญคือ กรดไขมันจำเป็นใยอาหาร และไฟโตสเตอรอล

การศึกษาในประเทศจีน ซึ่งตีพิมพ์ใน Journal of Agricultural and Food Chemistry พบสารไซนาริน (Cynarin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอวัยในต้นอ่อนทานตะวัน ไม่เพียงมีคุณสมบัติต้านฟรีแรดิคัล แต่ยังช่วยต้านการเกิดปฏิกิริยาไกลเคชัน (Glycation) สาเหตุหนึ่งของผิวแก่ก่อนวัย และลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น ความผิดปกติของไต (Diabetic Nephropathy) และความผิดปกติของเส้นประสาท (Diabetic Nephropathy) อีกด้วย

ปฏิกิริยาไกลเคชันเกิดเมื่5 ต้นอ่อนยอดนิยม, ต้นอ่อน, อ่อนเยาว์, sproutอระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมกินของหวานและอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูงเป็นประจำ โดยปฏิกิริยาไกลเคชันจะสร้างสารวายร้ายที่มีชื่อว่า เอจีอี (AGEs) หรือแอดวานซ์ ไกลเคชัน เอนด์ – โปรดักต์ส (Advanced Glycation End – Products) ขึ้นมาภายในร่างกาย เคราะห์หามยามร้ายหากสารตัวนี้ถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย จะส่งผลให้เซลล์บริเวณนั้นตายหรือเสื่อมสมรรถภาพในที่สุด

ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงอันตรายของสารชนิดนี้ว่าเป็นตัวทำลายคอลลาเจนและเส้นใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอย และจุดด่างดำ มีผลกระทบต่อเซลล์สมองทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง และทำให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง

How to eat

หากปลูกกินเอง ให้รวบต้นอ่อนจากภาชนะปลูกขึ้นมา ตัดรากทิ้งไป ใช้เฉพาะลำต้น นำไปล้างน้ำให้สะอาด สามารถกินสดเป็นสลัดผัก เป็นผักกินเคียงขนมจีนน้ำยา หรือปรุงสุกเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผัดไฟแดง แกงจืด หรือใส่ใน่แกงส้ม แกงเลียง ก็อร่อย

ตามมาด้วย “โต้วเหมี่ยว” ต้นอ่อนถั่วลันเตา รสชาติอร่อยไม่ว่าจะทำเมนูไหน
แต่นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว โต้วเหมี่ยวยังมีคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย อ่านต่อ หน้าถัดไป นะคะ

โต้วเหมี่ยว

กินปลอดโรค ไกลมะเร็ง

          โต้วเหมี่ยวคือชื่อเรียกต้นอ่อนถั่วลันเตา (Pea Sprouts) อุดมไปด้วยวิตามินซี เอ และกรดโฟลิก (Folic Acid) โดยข้อมูลจาก Standard Tables of Food Composition in Japan 4th Edition แสดงให้เห็นว่า โต้วเหมี่ยว 2 ถ้วย มีปริมาณวิตามินซีมากถึง 36 เปอร์เซ็นต์ วิตามินเอ 15 เปอร์เซ็นต์ และกรดโฟลิก 11 เปอร์เซ็pea-shoots-1271882_960_720นต์ของความต้องการใน 1 วัน

กินโต้วเหมี่ยวเป็นประจำช่วยให้ปลอดโรค ยืนยันข้อมูลโดยมหาวิทยาลัยรัฐวอชิงตัน (Washington State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งระบุว่าโต้วเหมี่ยวมีแคโรทีน (Carotene) และสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย ชะลอความเสื่อม และช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง

How to eat

ปลูกเพียง 10 วัน สามารถตัดโต้วเหมี่ยวมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ผัดไฟแดง ผัดหรืออบพร้อมเนื้อปลา ทำแกงจืด หรือล้างโต้วเหมี่ยวสดให้สะอาดก่อน แล้วใส่ลงในชาม สลัดหรืออาหารประเภทยำ

โต้วเหมี่ยวแตกต่างจากต้นอ่อนชนิดอื่นคือ หลังตัดต้นอ่อนแล้ว หากรดน้ำต่อเนื่องทั้งเช้าและเย็น โต้วเหมี่ยวจะเติบโตให้ตัดกินได้อีก 2 – 3 ครั้ง

ต่อด้วยพืชต้นอ่อนชนิดใหม่ที่กำลังฮิต นั่นคือ “ต้นอ่อนบรอกโคลี”

ต้นเล็กๆ น่ารักแต่แฝงประโยชน์มากมาย… อ่านลึก รู้จริง ที่ หน้าถัดไป ค่ะ

ต้นอ่อนบรอกโคลี

ลดความดัน ต้านมะเร็งกระเพาะอาหาร

ต้นอ่อนบรอกโคลี (Broccoli Sprouts) มีกลูโคราฟานิน (Glucoraphanin) สูง จนได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยซัสแคตเชวัน (University of Saskatchewan) ประเทศแคนาดา

ซึ่งได้ศึกษาคุณสมบัติทางยากับหนูทดลองที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเส้นเลือดในสมองตีบ โดยให้หนูทดลองกินอาหารที่มีกลูโคราฟานินสูง หลังจากนั้นเพียง 14 สัปดาห์ นักวิจัยพบว่า กลไกการป้องกันฟรีแรดิคัลในร่างกายของหนูทดลองมีประสิทธิภาพดีขึ้น

5 ต้นอ่อนยอดนิยม, ต้นอ่อน, อ่อนเยาว์, sproutนอกจากนี้ยังพบว่า ความดันโลหิตลดลง การอักเสบบริเวณหัวใจและไตลดลง ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

นักวิจัยเสริมว่า มีความเป็นไปได้ที่ร่างกายของคนจะตอบสนองเช่นเดียวกับหนูทดลอง และเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพให้ได้ผล ควรกินต้นอ่อนบรอกโคลีสดวันละ 1 – 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ใน ผู้ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ควรกินต้นอ่อนบรอกโคลีวันละ 70 – 140 กรัม

ไม่เพียงเท่านี้ การศึกษาในปี 2002 จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (The Johns Hopkins University School of Medicine) ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังพบว่า การกินต้นอ่อนบรอกโคลีวันละ 2 – 3 ออนซ์ (57 – 85 กรัม) ต่อเนื่องนาน 2 เดือน สามารถช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียชนิด Helicobacter Pylori ภายในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

How to eat

          นายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ (Andrew Weil) พ่อมดแห่งการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้กินต้นอ่อนบรอกโคลีร่วมกับบรอกโคลี เพราะจากงานวิจัยพบว่าการกินคู่กันจะช่วยเพิ่มพลังป้องกันโรคมะเร็งเป็นทวีคูณ พร้อมเสริมว่าหากต้องการกินต้นอ่อนบรอกโคลีให้ได้สารอาหารอย่างเต็มที่ ควรกินสดหรือปรุงผ่านความร้อนโดยใช้เวลาน้อยกว่า 4 นาที

หลายงานวิจัยการันตี แถมรู้วิธีกินให้ได้ประโยชน์ขนาดนี้ เห็นทีต้องเพิ่มต้นอ่อนเป็นอีกหนึ่งเมนูชะลอวัย ต้านโรค ร่วมกับอาหารชีวจิตแล้วค่ะ

เรื่อง “5 ต้นอ่อนยอดนิยม อร่อย อ่อนเยาว์ แข็งแรง” โดย ริษณา จรรยาชัยเลิศ (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ) คอลัมน์ชีวจิตพลัส นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 373