Welcome to Lifestyle Zone!

ทางแก้ของคนเป็น ภูมิแพ้

ป้องกัน ภูมิแพ้

กฎข้อหนึ่งที่คนเป็น ภูมิแพ้ รู้ดีก็คือ “ภูมิแพ้เป็นโรคที่ไม่มียารักษา และการกินยารักษาภูมิแพ้ก็เป็นเพียงระงับอาการชั่วคราวเท่านั้น ไม่นานก็กลับมาเป็นอีก” ถึงอย่างไร ก็ไม่มีปัญหาใดที่เกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขไม่ได้ รวมถึงการเอาชนะโรค ภูมิแพ้ ด้วย และทางแก้ที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ ตัวเราค่ะ เพียงยินดีกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตอย่างจริงจังเพื่อให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ก็สามารถลืมภูมิแพ้ไปได้แล้วค่ะ

ประสบการณ์ของผู้อื่นก็เป็นการเรียนรู้แบบทางอ้อมที่สร้างความเชื่อว่าเห็นผลจริง และเป็นแรงบันดาลใจให้เราลุกขึ้นมาดูแลตัวเองได้ดีที่สุดทางหนึ่ง ประสบการณ์และทางออกของคนเป็นภูมิแพ้ต่อไปนี้ คือสิ่งที่คุณนำมาปรับใช้ได้ค่ะ

1.แพ้อากาศตลอดทั้งปี

คุณสุธาสินี บุญเลิศรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัย วัย 35 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เนื่องจากไม่ได้ดื่มนมแม่ และคุณพ่อสูบบุหรี่

2.แพ้อากาศเฉพาะฤดูกาล

คุณปรเมศ ชัชวาล วิศวกรวัย 30 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศเฉพาะฤดูหนาวมาเมื่อตอนอายุ 20 ปี เริ่มหันมาดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดตอนอายุ 28 ปี ภายในเวลาเพียง 1 ปีอาการแพ้อากาศดีขึ้นจนหายเป็นปกติ

4.แพ้ฝุ่น และเชื้อราในอากาศ

คุณสุนทรีย์ รมณียกุล พนักงานเอกชนวัย 32 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้ฝุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นจากหนังสือ และเชื้อราจากอากาศในช่วงฤดูฝนมาตั้งแต่จำความได้ เพราะมีร่างกายไม่แข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก ทำให้ป่วยเป็นหวัดเป็นประจำ บางครั้งมีอาการหายใจไม่ออกจนต้องนั่งหลับ และเมื่อโตขึ้นก็มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา

6.แพ้ผิวหนังชนิดตัวบวม หรือทางการแพทย์เรียกว่า Angioedema ลักษณะของภูมิแพ้ชนิดนี้จะมีอาการแพ้ทางผิวหนังก่อน แล้วจึงมีอาการตัวบวมตามมา

คุณพรรณราย จริยะพิสุทธิ์ ป่วยเป็นภูมิแพ้ทางผิวหนังชนิดตัวบวม  เมื่อ 3 ปีก่อน เนื่องจากเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมาก จึงลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว คือ 40 กิโลกรัมภายในเวลาเพียง 9 เดือน ทำให้ไม่มีภูมิต้านทาน ประกอบกับความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานาน อาการแพ้จนตัวบวมจึงเกิดขึ้นอย่างไม่เลือกเวลา และสถานที่

8.แพ้ถั่ว

คุณฐานิดา สมุลไพร โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ วัย 33 ปี แพ้ถั่วตระกูลพีนัททุกชนิด ก่อนหน้าที่จะมีอาการแพ้ถั่ว เริ่มป่วยเป็นไซนัสมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ รักษาเรื่อยมากระทั่งหาย พออายุประมาณ 19 ปีก็มีอาการแพ้ถั่วอย่างรุนแรง

อาการ เมื่อกินถั่วเข้าไปจะมีอาการหายใจไม่ออก ปากพอง ตาบวม รู้สึกถูกบีบที่หัวใจ และคันที่ตา ทำให้ขยี้ตาจนแสบที่เปลือกตา และเมื่อได้กลิ่นถั่ว เช่น ถั่วต้ม ก็จะมีอาการหายใจไม่ออกเช่นกัน แม้จะไม่ร้ายแรงเท่ากับการกิน

การรักษา ฉีดยาตามแพทย์นัด สัปดาห์ละ 1 เข็มเป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่หาย

การดูแลตัวเอง “พอหันมาออกกำลังกายอย่างจริงจังด้วยการเล่นบาสเก็ตบอล ตอนนั้นเป็นนักกีฬาด้วยก็ทำให้แข็งแรงขึ้น และไม่แตะต้องอาหารที่ทำจากถั่วทุกชนิด”

  Tip คุณฐานิดาบอกเคล็ดลับเมื่อมีอาการแพ้ถั่วว่า “เมื่อเกิดอาการแพ้ พยายามดื่มน้ำมากๆ”

9.แพ้สารเคมี อาหารบางชนิด และยา

คุณกัญญา คำแสน พนักงานประกันชีวิตวัน 40 ปี ป่วยเป็นภูมิแพ้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เนื่องจากโดนตัวต่อต่อยเกือบทั้งรัง (นับได้ 32 ตัว) ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลนาน 1 เดือนเต็ม หลังจากรักษาตัวหาย ก็มีเริ่มป่วยเป็นภูมิแพ้สารเคมีในเสื้อผ้าใหม่ๆ และแพ้อาหารที่มีปูกับปลาร้าเป็นส่วนผสม

   อาการ แพ้สารเคมี ผื่นขึ้นตามตัว โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนๆ เช่น รูหู และมีอาการภูมิแพ้ขึ้นตาลักษณะเป็นวุ้นสีขาว และน้ำตาไหลไม่หยุด
แพ้อาหาร ปากบวม แตก และยื่นออกมามากกว่าปกตินานหลายวัน
แพ้ยา หายใจไม่ออก ผิวเนื้อมีลักษณะสุกไหม้ ตาบวม และผื่นขึ้น

การรักษา กินยารักษาภูมิแพ้ หายเป็นพักๆ และกลับเป็นใหม่จนเรื้อรัง ทั้งมีอาการเบลอๆ งงๆ จากการรับยามากเป็นเวลานาน

การดูแลตัวเอง “เปลี่ยนมากินข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีต ดื่มน้ำแครอท สลับกับน้ำเซอลารี่ ออกกำลังกายด้วยการเดินวันละครึ่งชั่วโมง และทำดีท็อกซ์อาทิตย์ละครั้ง หรือเมื่อเริ่มรู้สึกไม่สบาย เช่น เจ็บคอก็จะทำดีท็อกซ์แล้วก็ดีขึ้นค่ะ ปฏิบัติตัวแบบนี้มาปีหนึ่ง เห็นผลเลยว่าร่างกายมีภูมิต้านทานขึ้น ไม่แพ้อะไรง่ายๆ เรียกว่าหายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว”

Tip คุณกัญญาบอกเคล็ดลับป้องกันการสารเคมี อาหาร และยาว่า “หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้คือเสื้อผ้าใหม่ ไม่กินอาหารที่มีส่วนผสมของปูและปลาร้า ทดลองกินยา 1 ชั่วโมงก่อนรับยากลับบ้านทุกครั้ง เมื่อจำเป็นต้องรักษาด้วยการกินยา”