Welcome to Lifestyle Zone!

4 วิธีแก้ปัญหาเท้าผู้สูงอายุ

4 วิธีแก้ ปัญหาเท้า ในผู้สูงอายุ

ปัญหาเท้า ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเท้าเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่รับบทหนักไม่แพ้อวัยวะส่วนอื่น เพราะต้องแบกรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย การดูแลเท้าให้มีสุขภาพดีในวัยสูงอายุที่เท้าผ่านการใช้งานมานานจนเกิดอาการเสื่อมและเกิดความเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย

เพื่อหยุดยั้ง 4 อาการทรมานคุกคามเท้าผู้สูงวัยนี้ เราจึงไปหาคำตอบจากศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี มาบอกให้ทราบดังนี้

4 สาเหตุปัญหาเท้า แก้ไขได้

ในเบื้องต้น คุณอมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการประจำศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุอธิบายให้คุณป้าศรีเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาส้นเท้าแตกและตาปลา

ให้คุณป้าเข้าใจง่ายๆ ดังนี้

  • ส้นเท้าแตก
  • “ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการส้นเท้าแตกของคุณป้าคือ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังบริเวณส้นเท้าจะมีปริมาณลดลง บวกกับผิวหนังบริเวณนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกายจึงแห้งหยาบและแตกเป็นร่องได้ง่าย ประกอบกับที่คุณป้าเล่าว่า เดินเท้าเปล่าจนเป็นนิสัย แม้การเดินอยู่ในบ้านก็ทำให้เท้าสัมผัสกับความเย็นตลอดเวลา ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณส้นเท้าแห้งและแตกเป็นร่องลึกได้เหมือนกัน”

  • ตาปลา
  • คุณอมรรัตน์เล่าว่า “ส่วนตาปลานั้นเกิดจากสาเหตุเดียวกับส้นเท้าแตก แต่มีปัจจัยที่เพิ่มมาคือ แรงเสียดสีและแรงบีบที่มาจากหลายสาเหตุทั้งจากการสวมรองเท้าที่คับหรือรองเท้าที่ตัดเย็บไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดแรงเสียดสีบางบริเวณมากเป็นพิเศษ ยิ่งมีปัญหานิ้วเท้าผิดรูปร่วมด้วย จนทำให้นิ้วเท้ามาเกยและเสียดสีกันระหว่างเดิน ยิ่งทำให้ผิวหนังด้านหนาเป็นไตแข็งจนเกิดตาปลาขึ้นได้”

    ปัญหาเท้า

    วิธีแก้ไขส้นเท้าแตก+ตาปลา

    1. แช่เท้าในน้ำอุ่นช่วยบรรเทา
    2. คุณอมรรัตน์แนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่นวันละ 20 นาที จะช่วยให้ผิวหนังที่แข็งนุ่มลง แต่ต้องระวังระดับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในการแช่เท้าไม่ให้ร้อนเกินไป ผู้สูงอายุควรขอให้สมาชิกในครอบครัวมาทดสอบความร้อนของน้ำ ไม่ควรทดสอบเอง เพราะประสาทสัมผัสที่รับความรู้สึกร้อนของผู้สูงอายุเสื่อมตามวัย อาจได้ผลผิดจากความจริง โดยเฉพาะผู้ที่ส้นเท้าแตก ให้ใช้แปรงขนอ่อนนุ่มทำความสะอาดบริเวณส้นเท้าที่แตก หรือถ้าผิวหนังบริเวณนั้นหนาและแข็งมาก ให้ใช้หินขัดเท้าขัดเพื่อทำความสะอาด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งควบคู่ไปด้วยช
    3. สวมรองเท้าตลอดเวลา
    4. แนะนำให้สวมรองเท้าเป็นประจำแม้อยู่ในบ้าน โดยเลือกที่มีพื้นนิ่มไม่คับหรือหลวมจนเกินไป รวมทั้งรองเท้านั้นต้องตัดเย็บอย่างเรียบร้อย ไม่มีรอยตะเข็บทำให้เกิดการเสียดสี มิเช่นนั้นส่วนที่ตัดเย็บไม่เรียบร้อยอาจเสียดสีกับเท้า ทำให้เกิดตาปลาขึ้นได้

    ด้าน ดร.อภิวรรณ ณัฐมนวรกุล นักกายภาพบำบัดชำนาญการก็รับหน้าที่อธิบายต่อถึงอาการของคุณลุงแพ้วว่า

  • นิ้วหัวแม่เท้าบิดเก
  • อาจารย์อภิวรรณแนะนำว่า การสวมรองเท้าหัวแคบเป็นเวลานาน ทำให้นิ้วหัวแม่เท้าบิดเกไปตามลักษณะของเท้าที่ถูกบีบขณะใส่รองเท้า กระดูกบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าจึงปูดโปนออกมา ทุกครั้งที่สวใส่รองเท้าหรือยืนและเดินนานๆ จึงเกิดแรงกดจากรองเท้าซ้ำอีก และการลงน้ำหนักที่ไม่สมดุลเนื่องจากนิ้วหัวแม่เท้าบิดเกยิ่งทำให้คุณลุงรู้สึกเจ็บมากขึ้น

    วิธีแก้ไขนิ้วหัวแม่เท้าบิดเก

    ดร.อภิวรรณได้แนะนำวิธีการเยียวยาและป้องกันไม่ให้อาการนิ้วหัวแม่เท้าบิดเกสร้างปัญหาให้ดังนี้

    – เลือกรองเท้าเพื่อเยียวยาอาการ โดยต้องเปลี่ยนไปใช้รองเท้าหัวกว้างๆ หรือรองเท้าที่เปิดหน้าเท้า แล้วถ้าจำเป็นต้องสวมรองเท้าหุ้มส้นก็ต้องหาแผ่นรองเพื่อกั้นระหว่างส่วนกระดูกที่ปูดโปนขึ้นมากับรองเท้า เพื่อกันไม่ให้ส่วนนั้นเสียดสีกับรองเท้ามากไป เพราะจะเกิดการอักเสบขึ้นได้

    คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

    ปัญหาเท้า

  • ปวดส้นเท้า
  • นอกจากนี้ การเป็นผู้มีเท้าแบนและน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เวลาเดินน้ำหนักทั้งหมดจะลงที่ส้นเท้าเต็มๆ ไม่มีการกระจายน้ำหนักไปส่วนอื่น นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า นอกจากนั้น หากตรวจพบว่ากระดูกฝ่าเท้าเกิดเสื่อมจนกร่อนเป็นเศษเล็กเศษน้อย และมาพอกตรงบริเวณกระดูกชิ้นอื่น ทำให้เกิดภาวะกระดูกงอกที่ฝ่าเท้าร่วมด้วย เวลาเดินจึงเจ็บเหมือนมีกระดูกแทงที่ส้นเท้าตลอดเวลา กระดูกที่งอกนี้อาจงอกไปกดเอ็นหรือพังผืดส้นเท้าตลอดเวลา ซึ่งทำให้เจ็บบริเวณส้นเท้าได้เช่นกัน

    วิธีแก้ไขอาการปวดส้นเท้า

    ดร.อภิวรรณ แนะนำให้ใช้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบริหารเท้าควบคู่กันไป

    1. เสริมแผ่นหนุนเท้า หยุดอักเสบ

    หากใครที่มีเท้าลักษณะแบน นอกจากการสวมรองเท้านิ่มๆ เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว ต้องหาแผ่นรองมารองที่พื้นรองเท้า โดยเลือกแผ่นรองรองเท้าที่มีลักษณะโค้ง เพื่อกระจายน้ำหนักให้รอบฝ่าเท้าอย่างเหมาะสมเวลาเดิน ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันอาการปวดฝ่าเท้ากำเริบในเวลาเดินหรือยืนเป็นเวลานาน       2. บริหารเท้าง่ายๆ คลายปวด

    ดร.อภิวรรณกำชับให้ผู้สูงอายุบริหารเท้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่อนคลายอาการปวดส้นเท้าและมีสุขภาพเท้าที่ดีนั่นคือ

    2.1 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อฝ่าเท้า ยืนตัวตรง เขย่งเท้าแล้วค้างไว้ นับ 1 – 10 แล้วค่อยๆ ย่อ

    ตัวลงในท่ายืนปกติ ทำเช่นนี้วันละ 30 – 100 ครั้ง ขณะนั่งให้เอาลูกเทนนิส ขวดน้ำเปล่า กะลามะพร้าว หรือวัสดุรูปร่างกลม มาวางที่ฝ่าเท้า แล้วใช้ฝ่าเท้าคลึงไปมา เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อฝ่าเท้า

    2.2  ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อนิ้วเท้า ใช้ผ้าขนหนูหรือเศษผ้าบางๆ วางบนพื้น แล้วใช้นิ้วเท้าคีบผ้านั้นขึ้นมา หรือคีบผ้านั้นพับให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมตามใจชอบ ทำวันละประมาณ 30 นาที ถ้าทำคล่องแล้วอาจเปลี่ยนไปคีบวัตถุที่ยากขึ้นเช่นเหรียญก็ได้

    ใช้กระดาษบางๆ สอดเข้าไประหว่างนิ้วเท้า แล้วออกแรงหนีบกระดาษให้แน่นที่สุด ต้านกับแรงมือที่พยายามดึงกระดาษไม่ให้ดึงกระดาษออกได้

    นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทุกครั้งที่คุณลุงตื่นนอนให้ค่อยๆ วางเท้าและลงน้ำหนักเบาๆ ก่อน เมื่อจะเริ่มเดินก็ต้องหาที่จับยึดแล้วค่อยๆ เดิน ไม่ใช่ลุกพรวดพราดไปเลย

    ข้อมูลจาก คอลัมน์ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต

    เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
    กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวัง โรคมือ เท้า ปาก