Welcome to Lifestyle Zone!

อาหารรักษาเสียงแหบที่สาเหตุ โรคหวัด และกรดไหลย้อน

รักษา เสียงแหบ

คำถาม : ตอนนี้เสียงแหบมากค่ะ พูดแล้วเสียงไม่ออกจะทานอะไรดีคะ 

บ.ก.ขอตอบคำถามให้

คำถามมาแค่นี้ บ.ก.ก็เลยเดาว่า อาจมาจากหวัด เลยให้กินน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและกระเทียมบุบละเอียด เพื่อแก้อักเสบในลำคอแบบที่อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตสอนมา

แต่แล้วก็รู้สึกเอ๊ะขึ้นมา หน่อยๆ ว่า ถ้าเกิดอาการเสียงแห้งนี้ไม่ได้เกิดจากหวัด แต่เกิดจากกรดไหลย้อนล่ะ น้ำดื่มสักครู่ที่บอกไปนี่ต้องห้ามเลยนะคะ เลยรีบแซงหน้าหลายคำถาม หาคำตอบมาให้

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า สาเหตุของเสียแหบมาจาก กล่องเสียงอักเสบ โดยมีที่มา 3 ประการคือ 1. เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกับหวัดและหลอดลมอักเสบ 2. เกิดจากการระคายเคือง เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ใช้เสียงในการพูดนานหรือดังเกินไป 3. เกิดจากการระคายเคืองที่เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าไปในกล่องเสียง ขณะนอนหลับ ซึ่งหากเกิดต่อเนื่องยาวนาน ก็จะทำให้เสียแหบได้

ส่วนวิธีแก้ไขนั้น หากมาจากการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้เสียง ให้หยุดพฤติกรรมนั้น ส่วนการแก้ไขอาการเสียงแหบจากโรคทั้งสอง คือ โรคหวัด และกรดไหลย้อน นั้นมีวิธีการที่แตกต่างกันดังนี้

โรคหวัด

1.กินฟ้าทะลายโจร  ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ขึ้นง่ายปลูกทิ้งในกระถางได้เลย แค่โยนเม็ดแห้ง ๆ ลงไป เดี๋ยวก็ขึ้นให้เห็น เวลาเจ็บคอเป็นหวัด หรือบางทีมีอาการทอนซิลอักเสบร่วมด้วย แค่เด็ดยอดอ่อนเขียว ๆ หนึ่งขยุ้มมือใส่ปากเคี้ยวให้น้ำหูน้ำตาไหล เพราะขมที่สุดในโลก แต่ถ้าทนได้ก็ได้ผล คนที่ไม่ถนัดกินแบบนี้ก็ซื้อแบบเป็นแคลซูลมาติดไว้ที่บ้าน เพราะสมุนไพรตัวนี้แก้ไข้ แก้หวัด แก้เจ็บคออักเสบ เรียกว่าแก้โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แถมมีสรรพคุณเป็นยาปฏิชีวนะด้วย แนะนำให้กินครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

  1. กินวิตามินซี เราต้องซื้อจากร้านยา ติดบ้านไว้มีประโยชน์มาก เพราะเป็นตัวสำคัญที่ช่วยบำรุงเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย เป็นหนึ่งในวิตามินกลุ่มแอนติออกซิแดนต์ เวลาเจ็บป่วยเป็นอะไรมีแผลเลือดออก แผลภายใน วิตามินซีทำงานร่วมกับยาตัวอื่นช่วยให้อาการต่าง ๆ หายเร็วกกว่าปกติ ที่สำคัญคือช่วยชะลอความแก่ ดูแข็งแกรงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ แนะนำให้กิน ขนาด 1,000 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ดเช้า
  2. กินสังกะสีหรือซิงก์ (Zinc) ซิงค์หรือสังกะสี ในบรรดาแร่ธาตุร่างกายต้องการเพียงแค่ 18 อย่าง ซิงก์เป็นตัวสำคัญที่สุด เทียบกับภาพยนตร์ซิงก์ก็เหมือนผู้กำกับการแสดง เพราะมีส่วนกำกับหรือชี้นำ แม้แต่เรื่องการย่อยอาหารซึ่งมีน้ำย่อยเป็นตัวการ ซิงก์เป็นตัวช่วยให้การรักษาและฟื้นฟูตัวเองดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แนะนำให้กินซิงก์ขนาด 50 มิลลิกรัม 1 เม็ด แต่อยากได้ซิงก์ธรรมชาติไว้กินเล่น ก็ให้นึกถึงเมล็ดฟักทอง
  3. กินยาธาตุบรรจบและขมิ้นชัน สมุนไพรสองตัวนี้ต้องใช้คู่กัน ยาธาตุบรรจบเป็นยาสามัญประจำบ้าน กินคู่กับขมิ้นชันเป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับท้องหรือเป็นยางกลาง ๆ ป่วยก็กินได้ ไม่ป่วยแต่มีอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อก็กินได้

ที่แนะนำให้กินยาสมุนไพร 2 ชนิดนี้ซึ่งมีสรรพคุณเกี่ยวกับท้องควบกับยาแก้หวัดด้วย เพราะหวัดมักมีผลกระทบต่อท้องด้วย กินเพื่อป้องกันอาการไว้ก่อน โดยกินยาธาตุบรรจบ 5 เม็ด ขมิ้นชั้น 3 เม็ด หลังอาหาร เช้า เย็น

  1. สูดดมน้ำต้มหอมเล็ก ถ้ามีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ให้เทน้ำประมาณ 3-5 ลิตร ใส่หม้อใหญ่ เอาหอมเล็กประมาณ 10-15 หัว ทุบพอแตกใส่ในน้ำ แล้วต้มให้เดือด พอเดือดแล้ว ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ๆ คลุมศีรษะและคลุมปากหม้อ (ครอบทั้งหัวและหม้อ) สูดหายใจและรมควันอยู่อย่างนั้นประมาณ 5 นาที อย่าลืมสูดหายใจเข้าออกยาวๆ

6.ทำดีท็อกซ์ ทุกวันติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

โรคกรดไหลย้อน

อาจารย์สาทิสแนะนำ 4 วิธีกินสู้กรดไหลย้อน ดังนี้ค่ะ

  1. แซนด์วิชลดกรด

วิธีนี้เป็นวิธีแก้โรคแบบดั้งเดิม คือนำขนมปังโฮลวีตไปปิ้งพอเกรียม หั่นหอมหัวใหญ่เป็นชิ้นบางๆ ยัดเป็นไส้ขนมปัง ทำเป็นแซนด์วิช กินเป็นอาหารเช้า

  1. สลัดผัก สกัดกรด

เวลากินสลัดผัก ให้เติมกระเทียมดิบ แครอตดิบ และเซเลอรี่ดิบลงไปมากๆ

อาจารย์สาทิสแนะนำว่า เมื่อเป็นโรคนี้ ควรกินผักที่มีกากใยมากๆ เช่น คะน้า บรอกโคลี ผักบุ้ง ตำลึง สะเดา และพยายามเลี่ยงผักผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ

  1. ชาขิงร้อน ช่วยย่อยอาหาร

นำขิงแก่มาปอกเปลือก หั่นเป็นแว่น ต้มในน้ำร้อนจนเดือด กรองเอากากขิงออก ดื่มแต่น้ำ

  1. น้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ + น้ำผึ้ง

นำน้ำส้มแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ปริมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำร้อนครึ่งแก้ว คนให้เข้ากัน จิบตลอดวัน

นอกจากการกินเพื่อแก้โรคทั้งสองแล้ว เรายังต้องจัดชีวิตในหนึ่งวันให้สมดุล ทั้งมีการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมทั้งการคลายเครียดและลดความกดดันในชวงเวลาทำงานด้วย

อย่าลืมนะคะ มีคำถาม อินบ็อกซ์เข้ามา บ.ก.ขอหาคำตอบให้

อ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับ 355 16 กรกฎาคม 2556