Welcome to Lifestyle Zone!

รักษาไตกันไว้ดีกว่า

วิธีดูแลไต โดยการหลีกเลี่ยงอาหารเค็มและสารปรุงแต่ง

ไต เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายไม่ด้อยกว่าอวัยวะสำคัญอื่น ดังนั้น วิธีดูแลไต ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเวลาที่สุขภาพเรายังอยู่ในภาวะปกติ เรามักไม่ค่อยเห็นความสำคัญของไตสักเท่าไร ต่อเมื่อร่างกายเริ่มมีปัญหา เช่น ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา หรือปัสสาวะเป็นฟอง พร้อมกับมีอาการบวมตามร่างกายก็พอบอกได้ว่าไตมีปัญหา

เมื่อไตมีปัญหา แสดงว่าเราใช้งานไตหนักมากแล้ว เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้จนเลือดหนืดเหมือนน้ำเชื่อมไหลผ่านไตวันละ 230 ลิตร จนเหลือมาเป็นปัสสาวะ 2.3 ลิตรทุก ๆ วันนั้น สร้างภาระที่หนักอึ้งให้กับไต

นอกจากหน้าที่กรองของเสียออกทางปัสสาวะแล้ว ไตยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนสำคัญต่อการสร้างกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดงและคุมความดันโลหิต ดังนั้น ถ้าอยากให้ไตสุขภาพดีอยู่กับเรานาน ๆ ก็ต้องเลือกกินอาหารที่ไม่ทำให้ไตทำงานหนัก โดยมีหลักการคือ

ไม่กินเนื้อสัตว์มากเกินไป

เลี่ยงมากินเนื้อปลาแทน โดยกะปริมาณคือ 1 ฝ่ามือต่อวัน สำหรับคนที่เริ่มมีผลเลือดบอกค่าการทำงานของไตผิดปกติ ยิ่งต้องควบคุมโปรตีนให้เหลือ 0.6 – 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันเลย ยกตัวอย่างเช่น คุณหนัก 50 กิโลกรัม โปรตีนที่ควรได้ต่อวันคือ 30 กรัมหรือเป็นเนื้อสัตว์ 1.2-1.5 ขีดต่อวันและควรเสริมไข่ขาวในอาหาร

วิธีดูแลไต

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

วิธีดูแลไต

งดผงชูรสและอย่าติดเค็ม

ห้ามเติมเครื่องปรุง โดยจำกัดปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ที่มักจะพลาดได้รับโซเดียมสูงโดยไม่รู้ตัวคือ ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต เพราะเป็นโซเดียมท่ไี ม่เค็ม กินไปปริมาณเท่าไรก็จะไม่รู้ ทำให้ไตทำงานหนัก

งดสารปรุงแต่ง

สีสังเคราะห์ สารแต่งกลิ่น เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ไตทำงานหนักโดยไม่จำเป็น

ในกรณีบุคคลที่ไตเริ่มทำงานผิดปกติแล้วให้คุมโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารไม่ให้เยอะเกินไปด้วย โดยโพแทสเซียมจะมีมากในผักใบเขียวจัด ๆ เช่น ผักโขมผักบุ้ง บรอกโคลี มันฝรั่ง มันเทศ มะขามหวาน ส่วนฟอสฟอรัสจะมีมากในกาแฟและน้ำอัดลม จึงต้องพึงระวัง

อาหารที่หมอเลือกแนะนำให้กับคุณในนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพไตให้อยู่กับเรานาน ๆ หมอจึงเลือกใช้ผักในวงศ์ Cruciferae (อ่านว่า ครูซิเฟอเรอี) หรือพืชวงศ์ผักกาดและกะหล่ำ ตามหลักของ Doctrine of Signature พืชตระกูลนี้ดำเนินชีวิตอยู่ใกล้กับรากของมันอย่างมากกล่าวคือ แทนที่จะแทงยอดชูช่อขึ้นมันกลับม้วนห่อใบเป็นปม มีใบที่อูมหนา ดังที่เราเห็นในแขนงกะหล่ำ ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ของการบวมน้ำ ดังนั้นจึงมีสรรพคุณลดอาการบวมน้ำเฉพาะส่วนได้อีกทั้งยังเป็นผักที่มีโพแทสเซียมน้อย ดีต่อคนไข้ที่สภาวะไตขับโพแทสเซียมได้ไม่ค่อยดี

ความพิเศษอีกอย่างก็คือ พืชตระกูลนี้มีกลิ่นฉุนของกำมะถัน (Sulfur) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญกับระบบย่อยอาหารและการสังเคราะห์โปรตีน ทั้งนี้หลังจากสายโปรตีนถูกสังเคราะห์ด้วยการนำเอากรดแอมิโนมาเรียงต่อกันเป็นโครงสร้างแบบปฐมแล้วโปรตีนจะต้องมีการนำเอาซัลเฟอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อให้สายโปรตีนสามารถขดตัวเป็นโครงสร้างทุติยภูมิได้อีกทั้งช่วยให้ตับสามารถสังเคราะห์สารกลูตาไทโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญเพื่อขับสารเสียออกทางตับได้ดีขึ้น จึงเหมาะกับคนไข้โรคไตที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างโปรตีนและขับสารเสียต่าง ๆ

หมายเหตุ ปัจจุบันพืชวงศ์ผักกาดใช้ชื่อวงศ์ว่า Brassicaceae (Cruciferae) (อ่านว่าบราสสิคาซีอี) แต่คุณหมออ้างอิงตามตำรา Doctrine of Signature ซึ่งบันทึกไว้ในยุคก่อนจึงยังคงใช้ชื่อ Cruciferae ตามตำราเดิม

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“มะเฟือง” ผลไม้ชะลอวัย ที่คนเป็นโรคไตต้องระวัง!
มังสวิรัติ ตัวช่วยผู้ป่วย โรคไต
รายการอยู่เป็นลืมป่วย : มะเฟืองเป็นผลไม้อันตรายต่อผู้ป่วยโรคไตจริงหรือ?